15 พฤศจิกายน 2542
การเงินและงบการเงินรวมไตรมาสที่ 3/2542
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (308,423) (199,042) (289,578) (187,262)
รวม 988,334 1,278,304 959,599 1,203,645
ณ วันที่ 30 กันยายน ลูกหนี้การค้าจำแนกตามอายุลูกหนี้ได้ดังนี้
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท?
2542 2541 2542 2541
พันบาท พันบาท พันบาท พันบาท
ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 316,416 288,463 310,069 280,892
เกินกำหนดชำระ
ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 4 เดือน 173,120 182,890 168,843 174,662
มากกว่า 4 เดือนถึง 12 เดือน 121,591 274,248 116,921 230,848
มากกว่า 12 เดือน ขึ้นไป 347,685 232,202 315,399 204,962
รวม 958,812 977,803 911,232 891,364
หมายเหตุ 9 - เงินกู้ยืมระยะยาว
เงินกู้ยืมระยะยาวเป็นเงินกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ให้กู้ร่วม 19 แห่ง จำนวนเงิน
80,000,000 เหรียญสหรัฐ และจากธนาคารต่างประเทศแห่งหนึ่งจำนวนเงิน 5,000,000 เหรียญสหรัฐ อัตราดอกเบี้ย
SIBOR โดยมีกำหนดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 3 ปีจากวันที่มีการเบิกถอนเงินกู้และทุก 6 เดือนตาม
ลำดับ และผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดภายในระยะเวลา 2 ปีจากวันที่มีการเบิกถอนเงินกู้
ทั้งนี้มีข้อกำหนดการกู้ยืมที่สำคัญ เช่น การที่บริษัทจะต้องดำรงอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญให้เป็นไปตามข้อกำหนด
ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 บริษัทได้ผิดนัดชำระเงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยและอัตราส่วนทางการเงินตาม
สัญญา ซึ่งอาจทำให้เจ้าหนี้สามารถเรียกหนี้เงินกู้คืนได้ทันที ดังนั้นบริษัทได้จัดประเภทรายการโดยแสดงไว้ภายใต้หนี้
สินหมุนเวียนทั้งจำนวน ในงวด 2542 อย่างไรก็ตามบริษัทอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้
ในงวด 2542 และ 2541 บริษัทย่อยมีเงินกู้ยืมระยะยาวจำนวนเงิน 147 ล้านบาท ได้จัดประเภทเป็นเงินกู้ยืมระยะยาวที่
เจ้าหนี้สามารถเรียกคืนได้ทันที แสดงไว้ภายใต้หนี้สินหมุนเวียน เนื่องจากบริษัทย่อยดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติตาม
เงื่อนไขสัญญากู้ยืม ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้
หมายเหตุ 10- กำไรจากการประนอมหนี้
ในงวด 2541 บริษัทและบริษัทย่อยได้ขอประนอมหนี้กับธนาคารแห่งหนึ่ง ตามสัญญาลงวันที่ 26 สิงหาคม 2541
บริษัทได้บันทึกล้างบัญชีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารจำนวนเงินประมาณ 8.51 ล้านบาท และบริษัทย่อยบันทึกล้างบัญชี
เงินกู้ยืมจากธนาคาร จำนวนเงินประมาณ 121.87 ล้านบาท ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ จำนวนเงินประมาณ 32 ล้าน
บาท และ 41.62 ล้านบาท ตามลำดับ และได้บันทึกส่วนต่างของหนี้สินที่ลดลง จำนวนเงินประมาณ 56.76 ล้านบาท
เป็นกำไรจากการประนอมหนี้ แสดงเป็นรายการพิเศษในงบกำไรขาดทุน
หมายเหตุ 11-ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
ในปี 2539 บริษัทได้ตีราคาที่ดินเพิ่มจำนวน 834.57 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 12/2539
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2539 และได้บันทึกส่วนที่ตีราคาเพิ่มดังกล่าวเป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในส่วนของผู้
ถือหุ้น ต่อมาในเดือนมีนาคม 2542 บริษัทได้ตีราคาที่ดินใหม่เป็นส่วนใหญ่ตามราคาประเมินอิสระจำนวน 509 ล้าน
บาทตามรายงานของผู้ประเมินอิสระ ลงวันที่ 4 มีนาคม 2542 โดยใช้วิธีเปรียบเทียบข้อมูลกับราคาตลาด ซึ่งได้มีการ
ปรับมูลค่าที่ดินลดลงจำนวนประมาณ 390.85 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท ครั้งที่
8/2542 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2542 และ ครั้งที่ 31/2542 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542 บริษัทได้บันทึกส่วนที่ตีราคา
ลดลงดังกล่าวไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น
ในปี 2539 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ตีราคาที่ดินเพิ่มจำนวนประมาณ 185 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ
บริหารของบริษัท ครั้งที่ 4/2539 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2539 และได้บันทึกส่วนที่ตีราคาเพิ่มดังกล่าวเป็นส่วนเกินทุน
จากการตีราคาสินทรัพย์ในส่วนของผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถืออยู่ในบริษัทย่อยจำนวนเงินประมาณ 94.61 ล้านบาท ต่อ
มาในเดือนมิถุนายน 2542 บริษัทย่อยแห่งนี้ได้ตีราคาที่ดินใหม่ทั้งหมดตามราคาประเมินจำนวน 148.72 ล้านบาทตาม
รายงานของผู้ประเมินอิสระ ลงวันที่ 14,18 และ 21 กันยายน 2542 โดยใช้วิธีเปรียบเทียบข้อมูลกับราคาตลาด ซึ่งได้
ปรับลดมูลค่าที่ดินลดลงจำนวนประมาณ 36.79 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท ครั้งที่
6/2542 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2542 บริษัทได้บันทึกส่วนที่ตีราคาลดลงดังกล่าวไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น
หมายเหตุ 12 - ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 ดังนี้
ล้านบาท
ภาระค้ำประกันสินเชื่อให้แก่บริษัทในเครือ 131.92
ภาระค้ำประกันสินเชื่อให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 221.93
ภาระค้ำประกันสินเชื่อให้แก่บริษัทอื่น 64.41
บริษัทถูกฟ้องร้องดำเนินคดี 51.58
บริษัทยังมีภาระค้ำประกันแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันนอกเหนือจากภาระค้ำประกันดังกล่าวข้างต้นอีกจำนวน 309.36
ล้านบาท แต่ผู้ร่วมทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าวข้างต้นได้มีหนังสือค้ำประกันจากธนาคารค้ำประกันกลับให้
บริษัทเต็มวงเงิน อันทำให้บริษัทไม่มีความเสี่ยงจากภาระค้ำประกันดังกล่าวแต่อย่างใด
หมายเหตุ 13- การจำแนกข้อมูลทางการเงินตามส่วนงาน
บริษัทและบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจ งานก่อสร้าง ขายสินค้า และให้บริการ และดำเนินธุรกิจในส่วนงานหลักทาง
ภูมิศาสตร์เดียว คือ ในประเทศไทย
ข้อมูลจำแนกตามส่วนงานจำแนกตามกิจกรรมสำหรับระยะ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542
งานก่อสร้าง การขาย การให้บริการ รวม
ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท
รายได้ 2,476 151 8 2,635
ต้นทุนขาย (2,152) (143) (12) (2,307)
กำไรขั้นต้น 324 8 (4) 328
หมายเหตุ 14 - การจัดประเภทรายการใหม่
งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ ได้จัด
ประเภทรายการใหม่ให้สอดคล้องกับงบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542
หมายเหตุ 15- ปัญหาปี ค.ศ. 2000 (ไม่ได้สอบทานโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการ
สอบทานงบการเงิน)
ปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับปี ค.ศ. 2000 เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ระบบตัวเลขสองหลักเพื่อระบุปีแทนที่จะ
เป็นตัวเลขสี่หลัก โดยระบบคอมพิวเตอร์อาจอ่านปี ค.ศ. 2000 เป็นปีอื่น ๆ ทั้งนี้ระบบที่ใช้ดังกล่าวอาจทำให้เกิดข้อผิด
พลาดเมื่อมีการประมวลข้อมูลที่ใช้วันที่ก่อน ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2543 ข้อผิดพลาดดังกล่าวอาจมีผลต่อการ
ดำเนินงานและการรายงานทางการเงิน ซึ่งอาจเป็นข้อผิดพลาดที่เล็กน้อยจนถึงขั้นเกิดความล้มเหลวของระบบงานที่
สำคัญ หากมิได้ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมและทันกาล และอาจมีผลกระทบต่อความสามารถของกิจ
การในการดำเนินธุรกิจปกติ นอกจากนี้ยังไม่อาจมั่นใจได้ว่ากิจการ ตลอดจนผู้ซื้อสินค้า ผู้ขายสินค้าและกิจการอื่นที่
ดำเนินธุรกิจด้วยจะสามารถแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับปี ค.ศ. 2000 ได้ทั้งหมด
บริษัทได้ดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 เรียบร้อยแล้วและรายจ่ายที่
เกี่ยวข้องมีจำนวนเงินไม่มีสาระสำคัญ ถึงแม้บริษัทจะสามารถทำการแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันเมื่อถึงปี
ค.ศ. 2000 บริษัทยังคงมีความเสี่ยงต่อการที่บริษัทอื่นที่บริษัทดำเนินธุรกิจด้วย อาจไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงระบบได้
ทันกาล และอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทได้ ซึ่งบริษัทยังไม่สามารถประมาณผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ได้ในขณะนี้