16 สิงหาคม 2542
รายการผลกำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน
วันที่ 3 สิงหาคม 2542
เรัยน กรรมการผู้จัดการของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
เรื่อง การบันทึกรับรู้ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
ข้าพเจ้าได้สอบทานผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์
คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ตามหนังสือของบริษัท
ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2542 โดยผลขาดทุนดังกล่าวตรงกับสมุดบัญชี
ของบริษัทฯ และเป็นไปตามนโยบายการบัญชีของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
ขอแสดงความนับถือ
(นายนิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์)
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 2316
บริษัทซิโน - ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
รายการผลกำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542
(หน่วย : พันบาท)
กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัทฯ
(ระยะเวลา 6เดือน) ม.ค.-มิ.ย. 42 ม.ค.-มิ.ย. 42
- ที่เกิดขึ้นจริง (Realized) (13,156) (5,224)
- ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized) (2,151) (9,813)
(หน่วย : พันบาท)
กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
ตั้งแต่ 2 ก.ค. 2540 - 30 มิ.ย. 2542 2 ก.ค. 2540 - 30 มิ.ย. 2542
- ที่เกิดขึ้นจริง (Realized) (59,660) (8,276)
- ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized) (1,025,323) (969,245)
1. นโยบายบัญชีที่ถือปฏิบัติเกี่ยวกับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีนโยบายบัญชีรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนจากการใช้ระบบแลกเปลี่ยน
เงินตราแบบลอยตัวทั้งจำนวน สำหรับปี บัญชีที่เกิดขึ้นในงบกำไรขาดทุน
2. นโยบายการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
เนื่องจากรายได้จากการรับเหมาก่อสร้างซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทเป็นเงินสกุลบาท ใน
ขณะที่รายจ่ายต้นทุนค่าก่อสร้างบางส่วนเป็นเงินตราต่างประเทศ อันเนื่องมาจากการต้องสั่งซื้อวัสดุ อุปกรณ์ใน
ส่วนที่ไม่สามารถหาได้จากในประเทศ บริษัทฯ ซึ่งมีนโยบายที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward
Cover) สำหรับเงินตราสกุลนั้น ๆ ในช่วงก่อนการชำระค่าสินค้า ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง
สำหรับเงินกู้ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกานั้น การชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย
บริษัทฯ ก็มีนโยบายในการที่จะซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกาล่วงหน้า (Forward Cover) ในช่วงระยะเวลา
ก่อนการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยแต่ละงวด หากเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนทันที ณ ขณะนั้น (Spot) บวกด้วยค่า
ป้องกันความเสี่ยง (Premium) ตามระยะเวลาที่จะต้องชำระรวมกันแล้วอยู่ในอัตราที่เหมาะสมสำหรับในแต่ละ
ช่วง
.........../2. นอกจากนี้
หน้า 2
นอกจากนี้การรับงานก่อสร้างในอนาคต หากมีสัดส่วนใดก็ตามที่ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์จากต่าง
ประเทศ ในจำนวนที่สูง บริษัทฯ ก็จะพยายามเจรจากับผู้ว่าจ้างให้จ่ายค่าจ้างเป็นเงินตราต่างประเทศ หรือจ่ายเป็น
เงินบาท โดยเทียบกับเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ต้องสั่งซื้อวัสดุ อุปกรณ์จากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้
บริษัทฯ สามารถที่จะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับบริษัทย่อยที่มีเงินกู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ก็จะใช้นโยบายป้องกันความ
เสี่ยงทำนองเดียวกัน คือ การซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกาล่วงหน้า (Forward Cover) สำหรับเงินต้นและดอก
เบี้ยในช่วงระยะเวลาก่อนการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยแต่ละงวด หากเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนทันที (Spot) บวก
กับค่าป้องกันความเสี่ยง (Premium) รวมกันแล้วอยู่ในอัตราที่เหมาะสมในแต่ละช่วง
3. ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องวงเงินกู้ต่างประเทศ
(เฉพาะบริษัท)
เงินกู้ อัตราดอกเบี้ย ครบ เงื่อนไข
อ้างอิงและงวด กำหนด
ระยะสั้น SIBOR + 1% 1 เดือน อยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
$ 8,000,000 (ทุกเดือน)
ธนาคารและสถาบันการเงิน SIBOR + 1% 16/10/42 อยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
$ 80,000,000 (ทุก 6 เดือน)
ธนาคารต่างประเทศ SIBOR + 1% 12/11/42 อยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
$ 5,000,000 (ทุกเดือน)
หนี้ดังกล่าวข้างต้น ธนาคารและสถาบันการเงินได้ให้สิทธิเรียกร้องให้บริษัทฯ ชำระคืนเงินกู้
แล้ว ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว
ขอแสดงความนับถือ
(คุณอนุทิน ชาญวีรกูล)
กรรมการ
วันที่ 3 สิงหาคม 2542