17 พฤศจิกายน 2541

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไตรมาส 3/2541

รายงานการสอบทานงบการเงินระหว่างกาล บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 รายงานการสอบทานงบการเงิน เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 งบกำไรขาด ทุนรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วน(ขาด)ของผู้ถือหุ้นรวม งบกำไร(ขาดทุน)สะสมรวมสำหรับระยะ เวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวด และงบกระแสเงินสดรวม สำหรับระยะ เวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2541 ของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และได้สอบทานงบการเงินเฉพาะของ บริษัท ซิ โน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) สำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศ ไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การทำความเข้าใจเกี่ยว กับระบบ ในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้า ที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบ เขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตาม มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงิน มาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความ เห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้ งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด และบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามหินประดับ จำกัดที่แสดงรวมอยู่ในงบการ เงินรวมสำหรับระยะ เวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 ได้ถือตามข้อมูลที่ สอบทานแล้วโดยข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้า ได้เสนอรายงานการสอบทานงบการเงินว่าขึ้นอยู่กับรายการปรับ ปรุงที่อาจมีขึ้นต่องบการเงิน ถ้าได้ทราบผลของ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของกิจการและ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด และบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามหินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 ที่รวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลรวม สำหรับระ ยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันเดียวกัน มียอดสินทรัพย์เป็นร้อยละ 16.59 ของสินทรัพย์ รวมและรายได้เป็นร้อยละ 9.84 ของ รายได้รวม จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อยซึ่งยังไม่ได้รับ การตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีตาม มาตรฐานการสอบบัญชีหรือมาตรฐานการสอบทานงบการ เงิน ดังที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 บริษัทบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมและ กิจการร่วมค้าโดยส่วนได้เสียในกำไร(ขาดทุน)ของบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้าในงบการเงินสำหรับระ ยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 จำนวนเงิน (112.03) ล้านบาท และ (103.90)ล้านบาท ได้ถือ ตามข้อมูลที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้าและบันทึก ส่วนได้เสียในกำไร(ขาดทุน)ของบริษัท ย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 จำนวนเงิน (135.28) ล้านบาท และ (113.59) ล้านบาท ตามลำดับ ได้ถือตามข้อมูลที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อยและ บริษัทร่วม ซึ่งยังไม่ได้รับ การตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีหรือมาตรฐาน การสอบทานงบการ เงิน ดังที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 1 ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 บริษัทมี หนี้สิน รวมสูงกว่าสินทรัพย์รวม จำนวนเงินประมาณ 407.72 ล้านบาท และบริษัทได้มีการผิดสัญญาเงิน กู้ เนื่องจากไม่ สามารถดำรงอัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งอาจทำให้เจ้าหนี้สามารถเรียกหนี้เงินกู้คืนได้ทัน ที ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการ เจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งยังไม่ทราบผลในปัจจุบัน นอกจากนี้วิกฤต การณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศซึ่งส่วน หนึ่งได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินสกุลต่างๆ ของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีผลอย่างมากต่อการ ดำเนินงานของบริษัท และอาจจะมีผลกระทบอย่างต่อ เนื่องต่อไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจมีผล กระทบต่อการดำรงอยู่ของบริษัท งบการเงิน นี้ทำขึ้นโดยมิได้ปรับปรุงมูลค่าสินทรัพย์ในราคาที่อาจจำหน่ายได้ และ ปรับปรุงหนี้สินตามจำนวนเงินที่จะ ต้องจ่ายคืน และจัดประเภทบัญชีใหม่ ซึ่งอาจจำเป็นถ้าบริษัทไม่สามารถดำรง อยู่ต่อไปได้ ดังที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 1 บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ ให้กู้ใน การจัดโครงสร้างและเงื่อนไขของเงินกู้ยืมระยะยาวที่เป็นเงินตราต่างประเทศใหม่ รวมทั้ง การผ่อนผันเกี่ยวกับ การดำรงอัตราส่วนทางการเงิน โดยอาจจะทำให้เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิเรียกชำระ หนี้ที่ยังค้างอยู่ทั้งหมดได้ทันที ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หนี้สินระยะยาวของบริษัทจำนวนเงินประ มาณ 3,355.27 ล้านบาท ควรจะต้อง แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียนในงบดุล ซึ่งบริษัทยังไม่จัดประเภท ใหม่สำหรับรายการดังกล่าว ดังที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 ในงวด 2540 บริษัทไม่ได้บันทึกขาด ทุนที่ยัง ไม่เกิดจากการประเมินราคาหลักทรัพย์หุ้นทุนในความต้องการของตลาดประเภทไม่หมุนเวียน ซึ่ง มีผลทำให้สิน ทรัพย์รวมและส่วนของผู้ถือหุ้นสูงไป 203.75 ล้านบาท ด้วยจำนวนเดียวกัน ขึ้นอยู่กับผลของรายการปรับปรุงต่องบการเงินงวด 2541 ที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดัง กล่าว ไว้ในวรรคที่ 3, 6 และ 7 และยกเว้นผลกระทบต่องบการเงินงวด 2541 และ 2540 ที่อาจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ กล่าวไว้ในวรรคที่ 5 และยกเว้นผลกระทบต่องบการเงินงวด 2540 ตามที่ กล่าวไว้ในวรรคที่ 4 และ 8 ข้าพเจ้าไม่พบ สิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่น ซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระ หว่างกาลนี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น (นายนิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 2316 บริษัท สำนักงาน พีทมาร์วิค สุธี จำกัด กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2541 บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม 30 กันยายน 2541 และ 2540 (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) หมายเหตุ 1 - การดำรงอยู่ของกิจการ ในปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยและบางประเทศในเขตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคประสบปัญหา ความยุ่งยากทาง เศรษฐกิจ อันเกี่ยวเนื่องกับการลดลงของมูลค่าของหน่วยเงินตราและ การลดลงของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศ มผลให้รัฐบาลไทยต้องขอความช่วย เหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อผ่อนคลายและแก้ไขวิกฤต การณ์ทางเศรษฐกิจ งบ การเงินนี้ได้จัดทำขึ้นตามเกณฑ์ที่ว่าบริษัทจะดำรงอยู่ตลอดไป ซึ่งถือตามข้อสมมติฐานที่ว่า บริษัทจะ ประกอบธุรกิจต่อไป ความสมบูรณ์ของสมมติฐานนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัทที่จะรักษา การจ่ายเงิน ตามข้อผูกพัน และความสำเร็จของการดำเนินงานในอนาคต หากบริษัทมิได้ประ กอบธุรกิจต่อไปแล้วมูลค่าของสิน ทรัพย์ตามบัญชีจะต้องปรับปรุงให้แสดงในราคาที่อาจจำหน่ายได้ บันทึกหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และจัดประเภทสินทรัพย์ และหนี้สินใหม่ จากผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญจากการลดค่าเงินข้างต้น ทำให้อัตราส่วนทางการเงินของบริษัท และเงื่อนไขต่าง ๆ ไม่ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเงินกู้ จึงทำให้เข้าข่ายผิดสัญญา ซึ่งเจ้า หนี้สามารถใช้สิทธิเรียกคืนเงินต้นพร้อมดอก เบี้ยได้ทันที ในวันที่ 20 สิงหาคม 2541 และ 4 กัน ยายน 2541 เจ้าหนี้เงินกู้ยืมได้แจ้งต่อบริษัท เพื่อจะใช้สิทธิเรียกร้องให้ บริษัทชำระคืนเงินกู้ ก่อนกำหนดตามที่ระบุในสัญญาเงินกู้ ทั้งนี้บริษัทได้แต่งตั้งที่ปรึกษาทางด้านการเงินเพื่อช่วยในการ จัดทำแผนและดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงิน ในขณะที่บริษัทและที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทกำลังดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานและประ มาณการทาง ด้านการเงินสำหรับการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างอยู่นั้น ไม่มีข้อประกันว่าการเจร จาดังกล่าวจะประสบความสำเร็จ แผนการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินดังกล่าวนั้นอาจรวมถึง การชะลอการจ่ายคืนเงินต้นเป็นเวลาหลายปี และการ จ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าอัตราทั่วไป หมายเหตุ 2 - มูลฐานของงบการเงินรวม 2.1 มูลฐานในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ที่นำมาจัดทำงบการเงินรวม ได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและ ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2.2 เกณฑ์การเสนองบการเงินรวม งบการเงินนี้แสดงรายการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2539 งบกระแสเงินสดสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 ไม่ ได้นำมาแสดงเปรียบเทียบกับงบกระแสเงินสดสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวัน ที่ 30 กันยายน 2541 เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ งบการเงินรวมสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 ประกอบด้วย งบการเงินของ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และงบ การเงินของบริษัทย่อยและบริษัทย่อยของบริษัทย่อย ดังนี้ อัตราร้อยละ ของยอดสินทรัพย์ ของยอดรายได้ ที่รวมอยู่ใน ที่รวมอยู่ใน การถือหุ้น สินทรัพย์รวม รายได้รวม โดยบริษัท ในงบการเงินรวม ในงบการเงินรวม 2541 2540 2541 2540 2541 2540 บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยตรง : - บริษัท ซิโน-ไทย คอนสรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด 99.99 99.99 7.44 10.12 7.58 9.36 บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 51.16 51.16 6.08 6.47 1.22 0.48 บริษัทย่อยของบริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยอ้อม : - ( ถือหุ้นโดยบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) บริษัท สยามหินประดับ จำกัด 35.81 35.81 งบการเงินของบริษัท สยามหินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวัน ที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 ที่นำมาทำงบการเงินรวมเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 ร้อย ละ 70 เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงาน ในการจัดทำงบการเงินรวมได้ตัดรายการค้าและยอดคงเหลือระหว่างกันที่เป็นสาระสำคัญออกแล้ว 2.3 ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน และส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่า ราคาตามบัญชีของเงินลงทุน ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทใหญ่เข้าไปถือหุ้น ในบริษัท ร่วมในปีก่อน ๆ ได้ถูกตัดบัญชีและแสดงอยู่ในกำไรสะสม ณ วันซื้อ ส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมมีกำหนดตัด บัญชีเป็นค่าใช้ จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี หมายเหตุ 3 - การดำเนินงานของบริษัทย่อย คณะกรรมการของบริษัทย่อยได้มีมติให้หยุดดำเนินการขุดแร่ลงเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 19 สิงหา คม 2536 เนื่องจาก ตลาดดีบุกโลกตกต่ำอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาแร่ดีบุกอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ต้นทุนการผลิต ผู้บริหารของบริษัทย่อย ไม่ได้บันทึกสำรองเผื่อการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ที่เกี่ยว ข้องกับการดำเนินการขุดแร่ดีบุกของบริษัทย่อย ซึ่งมีมูลค่า ตามบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ประมาณ 63.7 ล้านบาทไว้ในบัญชี บริษัทย่อยทำสัญญาเช่าช่วงประทานบัตรทำเหมืองแร่หินประดับจากบริษัท สยามหินประดับ จำกัด โดยทำสัญญาเช่า ช่วง 2 ประทานบัตร คือประทานบัตรที่ 27951/14713 และ 27952/14724 ที่ ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โดยทางบริษัทย่อยมีโครงการทำเหมืองหินก่อสร้างใน พื้นที่ประทานบัตรที่เช่าช่วงมาทั้งนี้บริษัทย่อยจะรับผิดชอบค่าใช้ จ่ายเกี่ยวกับการทำเหมืองทั้งหมด เมื่อเริ่มการผลิต บริษัทย่อยได้ว่าจ้างให้ บริษัทที่ปรึกษาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทย จำกัด ทำการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการทำ เหมืองหินก่อสร้าง และได้ทำการสำรวจศึกษาทางธรณีวิทยาแหล่งแร่แล้ว พื้น ที่ประทานบัตรทั้ง 2 ประทานบัตร จัดอยู่ ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามประกอบการเหมืองหิน อย่างไรก็ตามประทานบัตรดัง กล่าว บริษัท สยามหินประดับ จำกัด ได้รับมาก่อนมีมติคณะรัฐมนตรี ดังนั้นจึงสามารถ ประกอบ กิจการทำเหมืองหินประดับตามประทานบัตรเดิมได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุประทานบัตรและบริษัท สยามหินประดับ จำกัด ได้ดำเนินการเพื่อขอเพิ่มชนิดหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างตามประ ทานบัตรดังกล่าวซึ่งได้ รับอนุมัติจากกรมทรัพยากรธรณีแล้วตามหนังสือลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 ปัจจุบันบริษัท สยามหินประดับ จำกัด อยู่ระหว่างการดำเนินการร้องขอให้ กรมทรัพยากรธรณีช่วยกันเขตพื้นที่ประทานบัตรดังกล่าวออกจากเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น ที่ 1 เอ ซึ่งขณะ นี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมทรัพยากรธรณี บริษัทย่อยได้รับหนังสือแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเข้าเกณฑ์อาจถูกเพิก ถอนออกจากการ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ตามหนังสือเลขที่ บจ./ม 1921/2540 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2540 เนื่องจากสินทรัพย์ที่ใช้ใน การดำเนินการของบริษัทได้ลดลงในจำนวนที่มีนัยสำ คัญอันเนื่องมาจากการหยุดดำเนินการขุดแร่ดีบุก ขณะนี้บริษัทอยู่ ระหว่างดำเนินการเพื่อให้พ้นเหตุ แห่งการถูกเพิกถอนดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2541 บริษัทย่อยทำสัญญาแต่งตั้งสถาบันการเงินแห่งหนึ่งเป็นที่ปรึกษาทาง การเงินในการดำเนิน การจัดทำแผนฟื้นฟูบริษัท เพื่อแก้ไขเหตุแห่งการถูกเพิกถอนออกจากการเป็น หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย หมายเหตุ 4 - สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ การรับรู้รายได้ รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทใหญ่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งประเมิน โดยวิศวกรของบริษัท รายได้ที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จส่วนที่เกินกว่ารายได้ที่ มีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้ว ทั้งสิ้นบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า บริษัทย่อยบันทึกรายได้จากการขายเมื่อส่งมอบสินค้า รายได้จากงานบริการบันทึกตามอัตราส่วนร้อย ละของงานที่ทำ เสร็จ ซึ่งมีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้ว รายได้จากการให้เช่าเครื่อง มือ และอุปกรณ์ บันทึกเมื่อมีการเรียก เก็บเงินตามใบกำกับสินค้า รายได้อื่นบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ การรับรู้ค่าใช้จ่าย ต้นทุนงานก่อสร้างบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณหรือ ตามต้นทุนงาน ก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ผลต่างระหว่างต้นทุนที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำ เสร็จของราคาต้นทุนโดย ประมาณและต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีที่บริษัทบันทึกต้นทุน ตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ บันทึกเป็นงานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา บริษัทย่อยบันทึกต้นทุนงานบริการตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริง ค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินสดและเงินฝากธนาคารสุทธิจากเงินเบิกเกินบัญชี ธนาคาร ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามจำนวนที่คาดว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือของบริษัทย่อยแสดงในราคาทุนตามวิธีจ่ายสินค้าที่รับเข้ามาก่อนออกไปก่อนสุทธิจาก ผลขาดทุนของสิน ค้าเสื่อมสภาพ เงินลงทุน เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนแสดงในราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมที่ต่ำกว่า การลดลงของ หลักทรัพย์ในความ ต้องการของตลาดประเภทไม่หมุนเวียน แสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น เงินลงทุน ในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม แสดงตามวิธี ส่วนได้เสีย เงินลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทถือหุ้นใน อัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 แสดงในราคาทุนสุทธิจากค่าเผื่อการ ลดราคาเงินลงทุน เงินลงทุนในกิจการร่วมค้าที่บริษัทมีอัตราส่วนแบ่งกำไรร้อยละ 20 ขึ้นไป แสดงตามวิธีส่วนได้เสีย และรวมตามสัดส่วน สำหรับกิจการร่วมค้าทั้งหมดที่บริษัทมีส่วนร่วมในอำนาจควบคุม ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุ การใช้สินทรัพย์โดย ประมาณระหว่าง 5 - 20 ปี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ของบริษัทใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ในสินทรัพย์อื่น ได้แก่ค่าธรรมเนียมการประกันและจำ หน่ายหลักทรัพย์ มีกำหนดตัดบัญชีภายในระยะเวลา 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ บัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ หนี้ สินที่เป็นเงินตราต่าง ประเทศ ณ วันสิ้นงวด แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วัน นั้น และในกรณีที่มีสัญญาซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา ผลกระทบจากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว บริษัทรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวทั้งจำนวนในงวดการ บัญชีที่เกิดขึ้น โดย แสดงเป็นรายการ กำไร(ขาดทุน)จากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา แบบลอยตัว ในงบกำไรขาดทุน กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น คำนวณโดยการหารกำไร(ขาดทุน)สุทธิสำหรับงวดด้วยจำนวนหุ้นที่ออกจำ หน่ายแล้ว ณ วันสิ้น งวด (ยังมีต่อ)