31 สิงหาคม 2541

การแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ ปี ค.ศ.2000

แบบรายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 บริษัท บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ประกอบธุรกิจหลักประเภท รับเหมาก่อสร้างโดยมีสำนักงานใหญ่ที่ อาคารซิโน-ไทย ทาวเวอร์ อโศก โทรศัพท์ 260-1321 โทรสาร 259-4450, 260-1339 ขอรายงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหา ปี ค.ศ. 2000 ครั้งที่ 1 ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหาปี ค.ศ. 2000 การวิเคราะห์และการประเมินผลกระทบ ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบเนื่องจากปัญหาปี 2000 จะให้ลำดับความสำคัญ ของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบงานที่เป็นแกนหลักของธุรกิจคือ ระบบที่เกี่ยวกับงานส่วนปฏิบัติการ เป็นลำดับต้น ระบบงานสนับสนุน และอื่นๆ จัดเป็นลำดับรองลงมา ทั้งนี้รวมถึงผลกระทบ จากปัจจัยภายนอกด้วย โดยมีขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบดังนี้ 1. กำหนดขอบเขตของปัญหา โดยการสำรวจอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง แล้วตรวจสอบปัญหาและผลกระทบ ทั้งในแง่ระบบและการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยภายนอกด้วย 2. กำหนดระดับความรุนแรงของปัญหา ว่าได้รับผลกระทบจากปัญหา Y2K หรือไม่ และสามารถแก้ไขได้หรือไม่ 3. จัดลำดับความสำคัญของการแก้ไข โดยพิจารณาจากลำดับของการเกิดปัญหาก่อนหลัง ประกอบกับความร้ายแรงของผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงาน คณะทำงานปี 2000 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาปี 2000 จึงได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาปี 2000 โดยรายงานต่อคณะกรรมการจัดการของบริษัทฯ ประกอบไปด้วยทีมงานดังนี้ 1. คุณสมคิด ศิริอภินันท์ ผู้จัดการโครงการ 2. คุณณัฐณิชา ธเนศพงศ์ธรรม ส่วนงาน AS/400 3. คุณสุภาวดี ชาญวีรกุล ส่วนงาน AS/400 4. คุณนพพร ศรีวิเศษ ส่วนงาน AS/400 5. คุณสงกรานต์ อุปละ ส่วนงานเครือข่าย 6. คุณบุญชนะ สิงห์ทอง ส่วนงาน PC & PACKAGE โปรแกรม 7. คุณสยาม น้อยปิ่น ส่วนโปรแกรมบน PC ที่พัฒนาขึ้นภายใน 8. คุณพิชัย สุวิวัฒนกุล ส่วนโปรแกรมบน PC ที่พัฒนาขึ้นภายใน ผลกระทบของปัญหา ปี ค.ศ. 2000 ต่อการดำเนินธุรกิจ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบคอมพิวเตอร์และระบบการจัดการภายในองค์กร การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ภายในบริษัทฯ อาจแบ่งตามระบบงานในส่วนต่างๆ ดังนี้คือ 1. ระบบงานจัดการภายใน (BACK OFFICE) ซึ่งได้แก่ระบบบัญชี, จัดซื้อ, บุคคล, ทรัพย์สิน, การควบคุมต้นทุน โดยระบบดังกล่าวเป็นโปรแกรมที่ทางบริษัทฯ พัฒนาขึ้นใช้เอง โดยทำงานบนเครื่อง IBM A/S 400 และใช้เครื่องมือพัฒนาเป็น 4 GL ชื่อ LANSA ทั้งหมด 2. ระบบ OFFICE ทั่วไป ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปประเภท WORD และ WORK SHEET รวมถึงโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นเอง ซึ่งทำงานอยู่บนเครื่อง PC โดยมีเครือข่ายท้องถิ่น(LAN) อยู่ที่สำนักงานใหญ่ ส่วนที่หน่วยงานจะใช้งานในลักษณะ เครื่องเดี่ยว (STAND ALONE) จากการวิเคราะห์ถึงผลกระทบจากปัญหา ปี 2000 อาจแบ่งผลกระทบจากปัญหาปี 2000 เป็นส่วนต่างๆ ได้ดังนี้ ผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ 1. ระบบจัดการภายใน (BACK OFFICE) - อุปกรณ์(HARDWARE) และระบบปฏิบัติการ เครื่อง AS/400 จะต้องได้รับการ UPGRADE ระบบปฏิบัติการ (OPERATING SYSTEM) เป็น VERSION 3R2 เพื่อรองรับปี 2000 ตามข้อเสนอแนะของทาง IBM - โปรแกรม(SOFTWARE)โปรแกรม LANSA (4 GL)ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทางบริษัทฯ ได้ใช้พัฒนาโปรแกรมระบบต่างๆ จะไม่สามารถรองรับปัญหาปี 2000ได้ มีผลให้โปรแกรมประยุกต์ ที่พัฒนาขึ้นใช้เองซึ่งมีการคำนวณเกี่ยวกับวันที่ ผิดพลาด ได้แก่ ระบบบุคคล ส่วนการจ้าง,สวัสดิการ, ประเมินผล, เงินเดือน ระบบบัญชี การประเมินอายุหนี้, ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ระบบทรัพย์สิน การคิดค่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้โดยการ UPGRADE PROGRAME LANSA ซึ่งจะแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ได้ เหลือเฉพาะปัญหาการจัดเรียงของรายงานที่มีการแสดงรายละเอียด ของข้อมูลมากกว่า 1 ปี (กรณีที่ใช้ปีเป็นดัชนีในการจัดเรียง) แต่เนื่องจากระบบโปรแกรมของบริษัทฯ ได้รับการออกแบบให้ทำงานตามรอบการทำงานของบัญชีเป็นหลัก (งวดเดือนและงวดปี) และเก็บข้อมูลขึ้นปีต่อปี โดยสะสมเฉพาะยอดยกไปใช้ในปีถัดไป จึงทำให้ปัญหาเรื่องการ จัดเรียงมีน้อยและได้รับผลกระทบไม่มาก (ข้อมูลและรายงานส่วนใหญ่จัดทำอยู่ในช่วง 1 ปี) และสามารถแก้ไขได้ (มีต้นฉบับโปรแกรมอยู่ครบ) 2. ระบบ OFFICE ทั่วไป อาจแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ - เครื่อง PC ของบริษัทฯ โดยเมื่อแบ่งผลกระทบเครื่องตามรุ่นพบว่า เครื่องรุ่น 386 7% ไม่รองรับปี 2000 เครื่องรุ่น 486 70% ต้องมีการตั้งวันที่ใหม่เมื่อถึงปี 2000 (ผู้ใช้สามารถทำเองได้ตามข้อแนะนำ) เครื่อง PENTIUM 23% ไม่มีปัญหาปี 2000 - โปรแกรมประยุกต์สำเร็จรูป เช่น MAIL, WORD ต้องตรวจสอบกับทางผู้ผลิตเกี่ยวกับ ปัญหาปี 2000 - โปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้เอง พบว่ามีจำนวน 12 โปรแกรม ต้องได้รับการแก้ไข 3. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น LAN & เครือข่ายระยะไกล - อุปกรณ์ HUB, SWITCHING, ROUTER ไม่มีผลกระทบ - เครื่องบริการ (SERVER) ไม่มีผลกระทบ - โปรแกรมระบบเครือข่าย ต้องได้รับการแก้ไขในส่วนโปรแกรมเครือข่าย, ระบบสำรองข้อมูล 4. อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ เช่น MODEM,MULTIPLEXER, PABX ไม่มีผลกระทบ 5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับภายนอก บริษัทไม่มีการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับบริษัทภายนอก ยกเว้นการรับส่งข้อมูลในส่วน การส่งข้อมูลประกันสังคม ,การทำ INFO BANKING ซึ่งไม่กระทบเนื่องจากได้รับการแก้ไขแล้ว ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป ลักษณะธุรกิจของบริษัทฯ เป็นการให้บริการรับเหมาก่อสร้าง โดยส่วนงานที่มี ความสำคัญต่อธุรกิจมากที่สุด คือ ส่วนปฏิบัติการ ซึ่งทำงานเป็นโครงการ และมีพื้นที่ทำงานอยู่ ตามหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้าง การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ เพื่อทำงาน OFFICE ทั่วไป เช่น พิมพ์เอกสาร, ทำตารางคำนวณผลงาน, การคิดค่าแรง ซึ่งเป็นงานสนับสนุน ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าปัญหาปี 2000 มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจไม่มากเนื่องจากระบบงานในส่วนปฏิบัติการส่วนใหญ่ยังใช้และพึ่งพิง คอมพิวเตอร์ไม่มาก ซึ่งหากคอมพิวเตอร์มีปัญหาก็ยังสามารถทำ โดยวิธี MANUAL ได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาจากระบบคอมพิวเตอร์ในส่วนงานสนับสนุน(BACK OFFICE) อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ทางอ้อมต่อระบบปฏิบัติการได้บ้าง เช่น ระบบบุคคล ในส่วนของค่าแรง ค่าแรงที่ผิดพลาด อาจก่อให้ เกิดปัญหาแรงงาน, การหยุดงานซึ่งอาจมีผลให้การทำงานต้องชะงักลงบ้าง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก ทางบริษัทได้วิเคราะห์และประเมินผลกระทบตามประเภทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัท ดังนี้ -ลูกค้าหลัก - กลุ่มเอกชน คาดว่ามีผลกระทบต่ำ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีความมั่นคง อีกทั้งระบบงานมิได้มีการเชื่อมโยงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ - รัฐบาล คาดว่าไม่มีผลกระทบ เนื่องจากมีมาตรการแก้ไขปัญหาชัดเจน และระบบงาน มิได้มีการเชื่อมโยงกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ -Suppliers คาดว่าผลกระทบต่ำ เนื่องจากไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับ Supplier รายใด และมี Supplier มากรายในตลาด จึงสามารถหาทดแทนได้กรณีบริษัทบางราย ได้รับผลกระทบจากปัญหาปี2000 -กลุ่มธนาคาร คาดว่ามีผลกระทบต่ำ เนื่องจาก จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความตื่นตัวในการแก้ปัญหาสูง และได้รับการติดตามและควบคุมอย่างใกล้ชิดจากภาครัฐ -บริษัทย่อยและบริษัทร่วม ผลกระทบต่ำมาก เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ไม่มีการเชื่อมโยงกับทางบริษัทฯ ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงในเชิงธุรกิจมีไม่มาก เพราะไม่ได้มีลักษณะเป็น ลูกค้าหลัก หรือ Supplier หลักของกันและกัน และคอมพิวเตอร์ไม่ได้มี บทบาทต่อการทำงานของธุรกิจบริษัทดังกล่าวมากนัก นอกจากนี้สัดส่วนรายได้ของ บริษัทย่อยและบริษัทร่วมส่วนใหญ่มีไม่มากนักเมื่อเทียบกับรายได้ของบริษัทฯเอง ในส่วนของ บริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่มีสัดส่วนรายได้สูงจะเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้มีการเตรียม แผนรองรับปัญหา Y2K แล้ว การดำเนินการแก้ไขปัญหาและการทดสอบระบบคอมพิวเตอร์ คณะทำงานได้กำหนดแผนหลักเพื่อรองรับการแก้ปัญหาปี 2000 (ตามเอกสารแนบ 1) โดยคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับปี 2000 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ปี1999 ซึ่งมีรายละเอียดของแผน(เอกสารแนบ2) ซึ่งสามารถชี้แจงได้ดังนี้ :- 1. ระบบจัดการภายใน (ระบบบน AS/400) - HARDWARE &OS ทำการ UPGRADE ระบบปฎิบัติการเป็น VERSION 3R2 ซึ่งรองรับปี 2000 (ตามข้อรับรองของทางผู้ผลิต IBM) โดยบริษัท PRO-LINE (ประเทศไทย) จำกัด - UPGRADE เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม LANSA เป็น VERSION 7.5 ซึ่งเป็น VERSION ที่ทางตัวแทนจำหน่าย บริษัท PRO-LINE (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งว่าสามารถรองรับปี 2000ได้ มีผลให้โปรแกรมเดิมที่พัฒนาโดย LANSA VERSION ต่ำกว่าสามารถรองรับการคำนวณวัน ที่เกี่ยวกับปี 2000 โดยการป้อนและเก็บข้อมูลปียังคงเป็น 2 หลักเหมือนเดิม เนื่องจากโปรแกรม สามารถรับรู้เลขปี 2 หลักเป็นค่า วัน,เดือน,ปี ที่ถูกต้องได้ - แก้ไขโปรแกรมในส่วนที่มีผลกระทบด้านการจัดเรียงในการออกรายงาน - ทำการทดสอบโปรแกรมและระบบโดยรวม 2. ระบบ OFFICE ทั่วไป - PC สำหรับเครื่องรุ่น 386 พิจารณา UPGRADE หรือ ยกเลิกการใช้ อบรมการ SET ค่าวันที่เมื่อถึงปี 2000 ในส่วนเครื่องที่ใช้ที่หน่วยงาน และระบุผู้รับผิดชอบประจำหน่วยงาน - ระบบปฏิบัติการ แก้ไขโดยการลงโปรแกรมแก้ไขจากบริษัท ผู้ผลิต - โปรแกรมสำเร็จรูป ศึกษาและทดสอบข้อจำกัดซึ่งทางผู้ผลิตชี้แจงและแจ้งให้ผู้ใช้ ทราบถึงแนวทางแก้ไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับการคำนวณและแสดงวันที่ของโปรแกรม - โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ทำการแก้ไขโปรแกรมให้รองรับเลขปี 2000 โดยแก้ฐานข้อมูล และให้รับข้อมูลปีเป็นเลข 4 หลัก 3. ระบบเครือข่าย - อุปกรณ์ ไม่ต้องมีการแก้ไขเนื่องจากรองรับปี 2000 - โปรแกรมเครือข่าย - ใช้โปรแกรมแก้ไขจาก VENDER หรือ UPGRADE - ทดสอบการทำงานของระบบ * การแก้ไข นอกเหนือจากการ UPGRADE โปรแกรม LANSA และระบบปฏิบัติการบน AS/400 จะทำการแก้ไขเองโดยทีมงานภายในงบประมาณบริษัทฯ คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณ ในการแก้ไขปัญหาปี 2000 ประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งได้ผ่านการอนุมัติแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้ :- Q 3'98 - เพิ่ม HARDDISK & UPGRADE OS 150,000 บาท Q 3'98 - UPGRADE LANSA 300,000 บาท Q 2'-Q4' 98 - UPGRADE PC 300,000 บาท Q 2'98 - Q 2'99 - UPGRADE SOFTWARE PAGKAGE 250,000 บาท * ไม่รวมค่าใช้จ่ายในส่วนที่แก้ไขเองภายใน แผนการรองรับสำหรับความเสียหาย เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหาย จากปัญหาที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้น ในการแก้ปัญหาปี 2000 อันเนื่องมาจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะระบบ การจัดการภายใน ส่วน BACK OFFICE ในเบื้องต้นนี้จึงได้จัดเตรียมมาตราการ รองรับปัญหาที่อาจจะเกิดตามสถานะการณ์ต่างๆดังนี้ 1.แผนงานล่าช้าและต้องเลื่อนแผนออกบ่อยครั้งแนวทาง จัดจ้างบุคคลจากภายนอก ได้แก่ บริษัท PROLINE เพื่อช่วยงานแก้ไข ให้ทันตามแผน 2.ระบบทำงานผิดพลาดแนวทาง อุปกรณ์และระบบปฏิบัติการ ติดต่อบริษัท IBM ซึ่งมีสัญญาบำรุงรักษาเข้าฟื้นฟูสภาพปัญหาโปรแกรมประยุกต์ - ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดโดยโปรแกรมเมอร์ ฟื้นฟูระบบเดิมโดยระบบสำรองข้อมูล(Tape Backup) 3.ข้อมูลสูญหายแนวทาง ฟื้นฟูโดยระบบสำรองข้อมูล (Tape Backup) การดำเนินงานแก้ไขปัญหาของบริษัทในปัจจุบัน 1. ระบบจัดการภายใน (BACK OFFICE) - HARDWARE ได้ทำการสั่งซื้อ HARDDISK และอยู่ในระหว่างรออุปกรณ์ คาดว่าสามารถติดตั้ง และ UPGRADE ระบบปฏิบัติการ ได้ภายใน 15/8/98 ส่วนการ UPGRADE LANSA คาดว่าจะ เสร็จสิ้นภายในเดือน สิงหาคม 1998 - การแก้ไขโปรแกรม ได้แก้ไขในส่วนระบบลูกจ้างบางส่วน, ระบบประกันสังคม, ระบบบัญชี ในส่วน AGING หนี้และค่าใช้จ่ายล่วงหน้า คิดเป็นผลงานแล้วเสร็จ 39% - การทดสอบ แล้วเสร็จประมาณ 26% 2. ระบบ OFFICE ทั่วไป - HARDWARE ได้ทำการทดสอบ PC ที่มีอยู่แต่ละรุ่น พบว่าส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้โดยการ SET วันที่ให้เป็นปี 2000 เมื่อถึงปี 2000 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการเขียนวิธีการ SET UP และให้การอบรมแก่ผู้ที่รับผิดชอบ - การแก้ไขโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเอง ได้แก้ไขแล้วเสร็จ 64% ทำการทดสอบแล้ว 37% ในส่วนนี้คาดว่าจะเสร็จตามแผนงาน - PACKAGE โปรแกรม โปรแกรมส่วนใหญ่ 80% สามารถรองรับปัญหาปี 2000 ได้อีก 20% ยังรอข้อมูลจากผู้ผลิต และรอการแก้ไข 3. ระบบเครือข่าย - HARDWARE สามารถรองรับปี 2000 ได้ - SOFTWARE ได้รับการแก้ไขแล้ว - การทดสอบ อยู่ในระหว่างเขียนแผนและทำการทดสอบระบบ บทวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายบริหาร บริษัทตระหนักในปัญหา ปี ค.ศ. 2000 แต่จากการวิเคราะห์ผลกระทบต่อการดำเนิน ธุรกิจของบริษัทฯแล้วคาดว่ามีผลกระทบไม่มากนัก ปัจจุบันทางบริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อม เพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้ในระดับที่เชื่อมั่นได้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจากปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่คาดว่าอาจจะมีผลกระทบต่อระบบงานจากระบบคอมพิวเตอร์ภายในของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้มอบหมายให้ผู้จัดการแผนก EDP ทำการศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อ ระบบการทำงานและระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัท มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 1997 ซึ่งได้มีการตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาเพื่อศึกษาผลกระทบรวมทั้งได้มีการแก้ไขและป้องกันปัญหาไปได้ระดับหนึ่งแล้ว โดยรายงานให้ คณะกรรมการจัดการของบริษัทฯ รับทราบเป็นระยะ ในส่วนของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกนั้นทางฝ่ายบริหารของบริษัทฯ มีความเห็นว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบใดที่เป็นนัยสำคัญ เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทมิได้มีการเชื่อมโยงกับ ส่วนงานภายนอก และในส่วนองค์กรสำคัญที่อาจมีผลกระทบอย่างเช่น ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็มี การดำเนินงานอย่างจริงจังเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาปี 2000 ในส่วนของ Supplier ของบริษัทฯ ก็มีมากรายสามารถปรับเปลี่ยนได้หากเกิดปัญหา นอกจากนี้ด้วยลักษณะธุรกิจของบริษัทฯ ไม่น่าจะ ได้รับผลกระทบจากลูกค้าจากปัญหาปี 2000 ดังกล่าว สำหรับบริษัทย่อยและบริษัทร่วมนั้นมิได้มีระบบงาน ที่พึ่งพิงกับระบบคอมพิวเตอร์มากนัก การประกอบธุรกิจก็อิสระจากทางบริษัทฯ ทางบริษัทฯ คาดว่าจะดำเนินการศึกษา ทดสอบผลกระทบ แก้ไขและป้องกันปัญหาแล้ว เสร็จตามแผน ภายในไตรมาส 2 ของปี 1999 โดยผลการดำเนินงานในปัจจุบันยัง เป็นไปตามแผน อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารได้มีการติดตามความก้าวหน้าของแผนการดำเนินงานทุกเดือน ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบข้อความและข้อมูลในแบบรายงานฉบับนี้แล้ว ขอรับรองว่าข้อความ และข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทำให้ผู้อื่นสำคัญผิดหรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้ง ในสาระสำคัญอันอาจทำให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้เข้าซื้อหลักทรัพย์เสียหาย ในกรณีนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้อง ที่เป็นชุดเดียวกันข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ดร.อุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์. เป็นผู้ลงลายมือชื่อ กำกับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ดร.อุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ กำกับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลไว้ ชื่อ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ นางทัศนีย์ ชาญวีรกูล ประธานคณะกรรมการ นายอนุทิน ชาญวีรกูล กรรมการ ดร.อุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ กรรมการ นายวัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร กรรมการ นายมาศถวิน ชาญวีรกูล กรรมการ ชื่อ ตำแหน่ง ลายมือชื่อ ผู้รับมอบอำนาจ ดร.อุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ กรรมการ แบบ 57 (Y2K) 7/7