18 พฤศจิกายน 2540
การเงิน บมจ.ซิโน-ไทยฯ ไตรมาสที่ 3/2540
การรับรู้รายได้
รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทใหญ่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งประเมิน
โดยวิศวกรของบริษัท รายได้ที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จส่วนที่เกินกว่ารายได้ที่
มีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้วทั้งสิ้นบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า
บริษัทย่อยบันทึกรายได้จากการขายเมื่อส่งมอบสินค้า รายได้จากงานบริการบันทึกตามอัตราส่วน
ร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งมีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้ว รายได้จากการให้เช่า
เครื่องมือ และอุปกรณ์ บันทึกเมื่อมีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้า
รายได้อื่นบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ
การรับรู้ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนงานก่อสร้างบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณหรือ
ตามต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ผลต่างระหว่างต้นทุนที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำ
เสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณและต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีที่บริษัทบันทึกต้นทุน
ตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จบันทึกเป็นงานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา
บริษัทย่อยบันทึกต้นทุนงานบริการตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริง
ค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามจำนวนที่คาดว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้
สินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือของบริษัทย่อยแสดงในราคาทุนตามวิธีจ่ายสินค้าที่รับเข้ามาก่อนออกไปก่อนสุทธิจาก
ผลขาดทุนของสินค้าเสื่อมสภาพ
เงินลงทุน
เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนแสดงในราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมที่ต่ำกว่า เงินลงทุนใน
หลักทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทถือหุ้นในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 และกิจการร่วมค้า แสดงในราคาทุน เงิน
ลงทุนในบริษัทร่วมแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน ยกเว้นที่ดินซึ่งมีการตีราคาเพิ่มค่าเสื่อมราคาคำนวณ
โดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้สินทรัพย์โดยประมาณระหว่าง 5 - 20 ปี
ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ของบริษัทใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ในสินทรัพย์อื่น ได้แก่ค่าธรรมเนียมการประกันและจำ
หน่ายหลักทรัพย์ และค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ มีกำหนดตัดบัญชีภายในระยะเวลา 5 ปี
และ 10 ปี ตามลำดับ
บัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ หนี้
สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นงวด แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น
และในกรณีที่มีสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา หุ้นกู้
แปลงสภาพบันทึกในราคาแปลงสภาพตามที่กำหนด กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าแสดงในงบกำ
ไรขาดทุน
ผลกระทบจากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว
บริษัทรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวทั้งจำนวนในงวดการ
บัญชีที่เกิดขึ้น โดยแสดงเป็นรายการ กำไร(ขาดทุน)จากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
แบบลอยตัว ในงบกำไรขาดทุน
กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น
กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น คำนวณโดยการหารกำไร(ขาดทุน) สุทธิสำหรับงวดด้วยจำนวนหุ้นที่ออก
จำหน่ายแล้ว ณ วันสิ้นงวด
หมายเหตุ 4 - รายการกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
บริษัทมีรายการบัญชีกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมาก ผลของรายการดังกล่าวได้แสดงไว้ใน
งบการเงินตามมูลฐานที่ตกลงร่วมกันซึ่งเป็นไปตามธุรกิจปกติ
ยอดบัญชีคงเหลือกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 30 กันยายน มีดังต่อไปนี้
ลูกหนี้การค้าจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2540 2539 2540 2539
บริษัทย่อย - - 1,349 3,204
บริษัทร่วม 32,606 70 32,632 455
บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 21,783 22,016 10,332 16,207
รวม 54,389 22,086 44,313 19,866
เจ้าหนี้การค้าเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2540 2539 2540 2539
บริษัทย่อย - - 5,899 2,679
บริษัทร่วม 41 22,994 41 22,994
บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 32,110 12,284 30,331 5,185
รวม 32,151 35,278 36,271 30,858
รายการบัญชีที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันในงบการเงินสำหรับระยะเวลา 9 เดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน ประกอบด้วย
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2540 2539 2540 2539
รายได้จากการก่อสร้าง 115,526 13,988 115,526 13,988
รายได้ค่าบริการ ค่าเช่า และอื่น 40 577 1,536 2,083
ดอกเบี้ยรับ - - 5,408 1,802
ซื้ออุปกรณ์ - - 3,124 3,540
ค่าบริการคอนกรีตและอื่น ๆ - - 748 4,861
หมายเหตุ 5 - การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี
ในปี 2537 บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจากวิธีราคาทุน
เป็นวิธีส่วนได้เสีย
การบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินสำหรับระยะเวลา
3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 ได้ใช้ข้อมูลทางการเงินเพื่อการตีราคา
เงินลงทุนที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ซึ่งยังมิได้รับการตรวจสอบหรือ สอบ
ทานโดยผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานการสอบทานงบการเงินสำหรับเงิน
ลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
การบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินสำหรับระยะเวลา
3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 ได้ใช้ข้อมูลทางการเงินที่ได้รับการสอบ
ทานโดยผู้สอบบัญชีแล้วสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง และได้ใช้ข้อมูลทางการเงินเพื่อ
การตีราคาเงินลงทุนที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งและบริษัทร่วม ซึ่งยังมิได้รับ
การตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานการสอบ
ทานงบการเงินสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งและบริษัทร่วม
ผลกระทบต่อกำไรสะสมยกมา ณ วันต้นงวดสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่
30 กันยายน 2540 และ 2539 หากได้ใช้วิธีการบัญชีเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียตั้งแต่วันที่ได้รับ
เงินลงทุนมาได้แสดงไว้เป็นรายการแยกต่างหากในงบกำไรสะสม
การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวได้กระทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนด
โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามหนังสือลงวันที่ 30 ธันวาคม 2536
ในปี 2539 และ 2538 บริษัทร่วมแห่งหนึ่งได้เพิ่มทุนจดทะเบียนโดยออกจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนในราคา
ที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าแก่ผู้ถือหุ้นใหม่ทั้งจำนวน โดยมีผลให้ส่วนได้เสียของบริษัทในบริษัทร่วมดัง
กล่าวเพิ่มขึ้นจำนวน 43.12 ล้านบาท และ 25.71 ล้านบาท ตามลำดับ บริษัทได้บันทึกส่วนได้เสีย
ที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่า
ราคาทุนของเงินลงทุน และมีกำหนดตัดบัญชีตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสียสำหรับ
งบการเงิน สำหรับงวดระยะเวลา 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน มีดังนี้
จำนวนเงินล้านบาท นอกจากกำไรต่อหุ้น
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2540 2539 2540 2539
เงินลงทุนลดลง 143.54 187.39 120.58 266.14
กำไรสะสมต้นงวดเพิ่มขึ้น 137.65 114.38 240.65 195.18
กำไร(ขาดทุน)สุทธิลดลง (24.38) 3.49 (135.28) 4.94
กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น(ลดลง) (บาท) (0.81) 0.12 (4.51) 0.16
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสียสำหรับ
งบการเงิน สำหรับงวดระยะเวลา 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กนยายน มีดังนี้
จำนวนเงินล้านบาท นอกจากกำไรต่อหุ้น
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2540 2539 2540 2539
เงินลงทุนลดลง 143.54 187.39 120.58 266.14
กำไรสะสมต้นงวดเพิ่มขึ้น 127.83 80.48 224.28 150.11
กำไร(ขาดทุน)สุทธิเพิ่มขึ้น (14.56) 37.39 (113.59) 50.01
กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้นเพิ่มขึ้น (บาท) (0.49) 1.25 (3.79) 1.67
หมายเหตุ 6 - ลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 30 กันยายน ประกอบด้วย
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2540 2539 2540 2539
ลูกหนี้การค้า 1,659,568 1,100,826 1,479,97 1 970,155
งานก่อสร้างส่วนที่ยังไม่ได้เรียก
เก็บเงินตามใบกำกับสินค้า 583,669 921,254 583,669 921,254
รวม 2,243,237 2,022,080 2,063,640 1,891,409
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (39,114) (37,931) (35,385) (35,385)
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 2,204,123 1,984,149 2,028,255 1,856,024
หมายเหตุ 7 - เงินลงทุน
ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เงินลงทุนในหลักทรัพย์หุ้นทุนในความต้องการของตลาดประเภทไม่
หมุนเวียนมีราคาตลาดรวมต่ำกว่าราคาทุนรวม จำนวนเงิน 203.75 ล้านบาท บริษัทยังไม่ได้บันทึก
ขาดทุนที่ยังไม่เกิดจากการประเมินราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวในส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล
หมายเหตุ 8 - หุ้นกู้แปลงสภาพ
บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 80,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 17 ธันวา
คม 2536 ดอกเบี้ยอัตรา 1.75% สุทธิจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย กำหนดจ่ายปีละครั้งในวันที่ 17 ธันวา
คม ทุกปี เริ่มแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2537 และชำระคืนในวันที่ 17 ธันวาคม 2546
ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2537 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 หุ้นกู้แต่ละหุ้นมีสิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้น
สามัญของบริษัทที่ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้วได้ ในราคาที่กำหนดเบื้องต้น 424 บาท ต่อหุ้น ตามข้อ
บังคับของบริษัทบุคคลต่างประเทศอาจถือหุ้นของบริษัทเนื่องจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ได้ไม่เกิน
45% ของทุนเรือนหุ้นของบริษัทที่ออก หากมีการแปลงสภาพหุ้นกู้ทั้งสิ้น จำนวนหุ้นสามัญทั้งสิ้นที่พึง
ออกจากการแปลงสภาพจะเท่ากับประมาณ 14% ของทุนเรือนหุ้นที่ออกหลังจากแปลงสภาพแล้ว
บริษัทอาจไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดได้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2539 เป็นต้นไป ในราคา
ตามมูลค่าหุ้นกู้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าหุ้นของบริษัทมีราคาปิดในตลาดหลักทรัพย์ก่อนไถ่ถอนไม่ต่ำ
กว่า 150% ของราคาไถ่ถอน
ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้บริษัทไถ่ถอนหุ้นกู้ในวันที่ 17 ธันวาคม 2539 ในราคา 112.1637% ของ
มูลค่าหุ้นกู้
บริษัทมีแผนการเงินที่จะใช้เงินที่ได้จากการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้ของบริษัท ให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือ
และใช้เป็นทุนหมุนเวียนของบริษัท
ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 อนุมัติให้บริษัทออกหุ้น
กู้แปลงสภาพนี้ได้ และให้สำรองหุ้นสามัญที่ยังมิได้เรียกชำระ จำนวน 6 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10
บาท เพื่อรองรับการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญนี้ ซึ่งมติให้สำรองหุ้นสามัญดังกล่าวได้ถูกยกเลิก
โดยมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540
บริษัทบันทึกสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ในราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ในปี 2539 จำนวน
12.1637% ในสัดส่วนร้อยละ 100 ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้น โดยได้รวมภาษีหัก ณ ที่
จ่ายไว้แล้ว ตามมติที่ประชุม คณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 43/2539 เมื่อวันที่ 16 กันยายน
2539 ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 สำรองดังกล่าวมีจำนวนเงินประมาณ 274.85 ล้านบาท ซึ่ง
ได้แสดงเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นกู้แปลงสภาพ
ผู้ถือหุ้นกู้ได้ไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 80,000,000 เหรียญสหรัฐ ในราคา 112.1637%
ของมูลค่าหุ้นกู้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539
หมายเหตุ 9 - ทุนเรือนหุ้น
ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติพิเศษ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 22
พฤศจิกายน 2534 ให้เพิ่มทุนเรือนหุ้นของบริษัทจาก 255 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหุ้นบุริมสิทธิ 7
ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นสามัญ 18.5 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็น 750
ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นบุริมสิทธิ 7 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นสามัญ 68 ล้านหุ้น
มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยนำหุ้นสามัญออกจำหน่ายครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2535 จำนวน 4.5
ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 118 บาทบริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม
2535
ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 ได้มีมติให้ยืนยันมติพิเศษการ
เพิ่มทุนของที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 22 พฤศจิกายน
2534
หมายเหตุ 10 - ผลขาดทุนจากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว
ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยบันทึกผลขาดทุนจากการใช้ระบบแลกเปลี่ยน
เงินตราแบบลอยตัวจำนวนเงินประมาณ 945 ล้านบาท และ 93 ล้านบาท ตามลำดับในงบกำไร
ขาดทุน
หมายเหตุ 11 - หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทมีภาระการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่บริษัทในเครือ ในวงเงินประ
มาณ 949.4 ล้านบาท โดยมียอดการใช้สินเชื่อจริงของบริษัทในเครือดังกล่าวจำนวน 352.67
ล้านบาท ผู้บริหารของบริษัทเชื่อว่าบริษัทในเครือดังกล่าวไม่มีปัญหาในการชำระหนี้
หมายเหตุ 12 - การจำแนกข้อมูลทางการเงินตามส่วนงาน
ข้อมูลจำแนกตามส่วนงานจำแนกตามกิจกรรมของบริษัทและบริษัทย่อยสำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 30 กัน
ยายน 2540
จำนวนเงินล้านบาท
งานก่อสร้าง การขาย การให้บริการ รวม
รายได้ 4,264.20 390.64 37.90 4,692.74
ต้นทุน (3,776.88) (334.83) (28.71) (4,140.42)
กำไรขั้นต้น 487.32 55.81 9.18 552.32
หมายเหตุ 13 - เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศ เรื่อง ปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ 2
กรกฎาคม 2540 โดยให้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Managed Float)
ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยมีหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศจำนวน 89
ล้านเหรียญสหรัฐ และ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ซึ่งบริษัทมิได้ทำประกันความเสี่ยง
หมายเหตุ 14 - การจัดประเภทรายการใหม่
งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 ที่นำมา
แสดงเปรียบเทียบ ได้จัดประเภทรายการใหม่ให้สอดคล้องกับงบการเงิน ระยะเวลา 3 เดือน
และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540