17 พฤศจิกายน 2540
้งการนำส่งงบการเงินประจำปีแทนงบสอบทานไตรมาสที่ 3
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบกำไร(ขาดทุน)สะสม
สำหรับระยะเวลา 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539
(ยังไม่ได้ตรวจสอบ)
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2540 2539 2540 2539
กำไรสะสมส่วนที่ยังไม่ได้จัดสรร
ยอดยกมาต้นงวด 370,963 821,648 282,115 744,251
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
เงินลงทุนในบริษัทย่อยต่อกำไรสะสมต้นงวด
(หมายเหตุ 5) - (15,340) - (12,206)
ค่าความนิยมของเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตัดบัญชี
และส่วนแบ่งในกำไร (ขาดทุน) ตามวิธีส่วนได้เสียในบริษัทย่อย
และบริษัทร่วมยกมาต้นงวด (หมายเหตุ 5) 127,835 80,475 224,281 162,315
หัก จัดสรรกำไรสุทธิงวดก่อน - (18,457) - (18,457)
เงินปันผล - (210,000) - (210,000)
กำไรสุทธิ (1,349,747) (107,613)(1,349,747) (107,613)
รวมกำไรสะสมส่วนที่ยังไม่ได้จัดสรร (850,949) 550,713 (843,351) 558,290
กำไรสะสมส่วนที่ได้จัดสรรแล้ว
สำรองตามกฎหมาย 56,163 56,142 48,565 48,565
รวมกำไรสะสม (794,786) 606,855 (794,786) 606,855
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม
30 กันยายน 2540 และ 2539
(ยังไม่ได้ตรวจสอบ)
หมายเหตุ 1 - มูลฐานของงบการเงินรวม
1.1 มูลฐานในการจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินรวมของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
(มหาชน) และบริษัทย่อยที่นำมาจัดทำงบการเงินรวม ได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรอง
ทั่วไป และตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
งบการเงินนี้แสดงรายการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 25 ตุลาคม
2539
1.2 เกณฑ์การเสนองบการเงิน
งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540
ประกอบด้วยงบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
(มหาชน) และงบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด และบริษัท
ซิโน- ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท ซิโน-ไทย
รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น ณ วันที่ 30
กันยายน 2540 ร้อยละ 99.99 และ 51.16 ตามลำดับ และงบการเงินของบริษัท สยาม
หินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน
2540 ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
(เดิมชื่อ : บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) ถือหุ้น ณ วันที่
30 กันยายน 2540 ร้อยละ 70 เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์
คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนิน
งาน
งบการเงินรวมสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539
ประกอบด้วยงบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
(มหาชน) และงบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด และงบการ
เงินของบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท
ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่ ถือหุ้น
ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 ร้อยละ 99.99 และ 51.00 ตามลำดับ และงบการเงิน
ของบริษัท สยามหินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่
30 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
(มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) ถือหุ้น
ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 ร้อยละ 70 เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์
คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนิน
งาน
ในการจัดทำงบการเงินได้ตัดรายการค้าและยอดคงเหลือระหว่างกันที่เป็นสาระสำคัญออกแล้ว
1.3 ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน และส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่า
ราคาตามบัญชีของเงินลงทุน
ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทเข้าไปถือ
หุ้นในบริษัทย่อยในปีก่อน ๆ ได้ถูกตัดบัญชีและแสดงอยู่ในกำไรสะสม ณ วันซื้อ
ส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีกำหนดตัดบัญชี
เป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี
หมายเหตุ 2 - การดำเนินงานของบริษัทย่อย
คณะกรรมการของบริษัทย่อยได้มีมติให้หยุดดำเนินการขุดแร่ลงเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 19 สิงหา
คม 2536 เนื่องจากตลาดดีบุกโลกตกต่ำอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาแร่ดีบุกอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า
ต้นทุนการผลิต ผู้บริหารของบริษัทย่อย ไม่ได้บันทึกสำรองเผื่อการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ที่เกี่ยว
ข้องกับการดำเนินการขุดแร่ดีบุกของบริษัทย่อย ซึ่งมีมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2540
และ 2539 ประมาณ 63.7และ 63.9 ล้านบาท ตามลำดับ ไว้ในบัญชี
บริษัทย่อยทำสัญญาเช่าช่วงประทานบัตรทำเหมืองแร่หินประดับจากบริษัท สยามหินประดับ จำกัด
โดยทำสัญญาเช่าช่วง 2 ประทานบัตร คือประทานบัตรที่ 27951/14713 และ 27952/14724 ที่
ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โดยทางบริษัทย่อยมีโครงการทำเหมืองหินก่อสร้างในพื้น
ที่ประทานบัตรที่เช่าช่วงมาทั้งนี้บริษัทย่อยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำเหมืองทั้งหมด เมื่อ
เริ่มการผลิต
บริษัทย่อยได้ว่าจ้างให้ บริษัทที่ปรึกษาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทย จำกัด ทำการศึกษาความเป็นไป
ได้ของโครงการทำเหมืองหินก่อสร้าง และได้ทำการสำรวจศึกษาทางธรณีวิทยาแหล่งแร่แล้ว พื้นที่
ประทานบัตรทั้ง 2 ประทานบัตร จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21
กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามประกอบการเหมืองหิน อย่างไรก็ตามประทานบัตรดังกล่าว
บริษัท สยามหินประดับ จำกัด ได้รับมากอนมีมติรัฐมนตรี ดังนั้นจึงสามารถประกอบกิจการทำเหมือง
หินประดับตามประทานบัตรเดิมได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุประทานบัตรและบริษัท สยามหินประดับ
จำกัด ได้ดำเนินการเพื่อขอเพิ่มชนิดหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างตามประทานบัตรดังกล่าวซึ่ง
ได้รับอนุมัติจากกรมทรัพยากรธรณีแล้วตามหนังสือลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 ปัจจุบันบริษัท
สยามหินประดับ จำกัด อยู่ระหว่างการดำเนินการร้องขอให้กรมทรัพยากรธรณีช่วยกันเขตพื้นที่ประ
ทานบัตรดังกล่าวออกจากเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรม
ทรัพยากรธรณี
หมายเหตุ 3 - สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ
การรับรู้รายได้
รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทใหญ่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งประเมิน
โดยวิศวกรของบริษัท รายได้ที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จส่วนที่เกินกว่ารายได้ที่
มีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้วทั้งสิ้นบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า
บริษัทย่อยบันทึกรายได้จากการขายเมื่อส่งมอบสินค้า รายได้จากงานบริการบันทึกตามอัตราส่วน
ร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งมีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้ว รายได้จากการให้เช่า
เครื่องมือ และอุปกรณ์ บันทึกเมื่อมีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้า
รายได้อื่นบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ
การรับรู้ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนงานก่อสร้างบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณหรือ
ตามต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ผลต่างระหว่างต้นทุนที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำ
เสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณและต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีที่บริษัทบันทึกต้นทุน
ตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จบันทึกเป็นงานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา
บริษัทย่อยบันทึกต้นทุนงานบริการตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริง
ค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามจำนวนที่คาดว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้
สินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือของบริษัทย่อยแสดงในราคาทุนตามวิธีจ่ายสินค้าที่รับเข้ามาก่อนออกไปก่อนสุทธิจาก
ผลขาดทุนของสินค้าเสื่อมสภาพ
เงินลงทุน
เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนแสดงในราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมที่ต่ำกว่า เงินลงทุนใน
หลักทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทถือหุ้นในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 และกิจการร่วมค้า แสดงในราคาทุน เงิน
ลงทุนในบริษัทร่วมแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน ยกเว้นที่ดินซึ่งมีการตีราคาเพิ่มค่าเสื่อมราคาคำนวณ
โดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้สินทรัพย์โดยประมาณระหว่าง 5 - 20 ปี
ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ของบริษัทใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ในสินทรัพย์อื่น ได้แก่ค่าธรรมเนียมการประกันและจำ
หน่ายหลักทรัพย์ และค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ มีกำหนดตัดบัญชีภายในระยะเวลา 5 ปี
และ 10 ปี ตามลำดับ
บัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ หนี้
สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นงวด แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น
และในกรณีที่มีสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา หุ้นกู้
แปลงสภาพบันทึกในราคาแปลงสภาพตามที่กำหนด กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าแสดงในงบกำ
ไรขาดทุน
(ยังมีต่อ)