06 มีนาคม 2540

ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง นำส่งงบการเงินและงบการเงินรวมประจำปี

ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น นำส่งงบการเงิน และ งบการเงินรวมประจำปี ณ 31 ธ.ค.39 ฉบับตรวจสอบ สรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ตรวจสอบแล้ว) (หน่วย : พันบาท) งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 2538 สินทรัพย์หมุนเวียน 4,287,689 3,325,268 สินทรัพย์รวม 7,388,220 5,168,997 หนี้สินหมุนเวียน 2,899,971 1,370,709 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,175,527 1,722,674 งบกำไรขาดทุน สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2539 2538 รายได้จากการขาย 5,738,426 4,846,434 รายได้รวม 6,030,350 5,063,545 ต้นทุนขาย 5,269,151 4,139,469 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน** 920,705 422,806 กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (159,507) 369,145 กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น (บาท) (5.32) 12.31 ** หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดรวมทั้งค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยแต่ไม่รวมภาษีเงินได้ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (ตรวจสอบแล้ว) (หน่วย : พันบาท) งบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 2538 สินทรัพย์หมุนเวียน 4,873,502 3,651,106 สินทรัพย์รวม 8,165,711 5,410,383 หนี้สินหมุนเวียน 3,410,174 1,612,094 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,270,135 1,722,674 งบกำไรขาดทุนรวม สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2539 2538 รายได้จากการขาย 6,378,281 5,378,913 รายได้รวม 6,717,403 5,590,625 ต้นทุนขาย 5,807,384 4,593,482 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน** 1,074,963 486,869 กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (159,507) 369,145 กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น (บาท) (5.32) 12.31 ** หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดรวมทั้งค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยแต่ไม่รวมภาษีเงินได้ อนึ่ง ผู้สอบบัญชี ได้แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขไว้ในรายงานผู้สอบบัญชี ดังนี้ งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด และบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ท ดี เวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท อ่าวขามไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยาม หินประดับ จำกัด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2539 ที่รวมอยู่ในงบการเงินรวม สำหรับปีสิ้นสุดวัน เดียวกัน มียอดสินทรัพย์เป็นร้อยละ 13.20 ของสินทรัพย์รวมและรายได้ร้อยละ 10.86 ของรายได้ รวม จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อย ซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีตาม มาตรฐานการสอบบัญชีหรือมาตรฐานการสอบทานงบการเงิน ดังที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 ในปี 2537 บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชี เงินลงทุนในบริษัทร่วมจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสีย โดยส่วนได้เสียในกำไรของบริษัทร่วม สำหรับ ปี 2539 และ 2538 จำนวนเงิน 47.42 ล้านบาท และ 42.77 ล้านบาท ตามลำดับ ได้ถือตามข้อ มูลที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทร่วม ดังที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 11 ในปี 2539 บริษัทไม่ได้บันทึกขาดทุนสุทธิที่ยัง ไม่เกิดจากหลักทรัพย์หุ้นทุนในความต้องการประเภทไม่หมุนเวียน ซึ่งมีผลทำให้สินทรัพย์และส่วนของผู้ถือ หุ้นสูงไป 151.11 ล้านบาท ด้วยจำนวนที่เท่ากัน และตามที่บริษัทฯ ได้นำส่งงบการเงินประจำปี 2539 ซึ่งได้แสดงผลกำไรสุทธิลดลงจากงวด เดียวกันของปี 2538 ประมาณ 143.21% บริษัทฯ ใคร่ขอชี้แจงสาเหตุดังต่อไปนี้ 1. บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงการบันทึกส่วนเกินเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ในราคาที่สูงกว่าราคาตาม มูลค่าหุ้นกู้จำนวน 12.1367% จากสัดส่วน 5% ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 4.57 ล้านบาท สำหรับปี 2538 เป็นสัดส่วน 100% ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้น คิดเป็นจำ นวนเงิน 262.31 ล้านบาท สำหรับปี 2539 (ในปี 2539 บริษัทฯ ได้มีการชำระคืนหุ้นกู้แปลงสภาพ พร้อมส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ดังกล่าวแล้ว รายละเอียดตามหนังสือของบริษัทฯ ที่ บช.ซท.246/2539 เมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2539) 2. บริษัทฯ ได้ตัดบัญชีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการออกหุ้นกู้รอตัดบัญชี จากระยะเวลา 10 ปี คิดเป็น จำนวนเงิน 6.20 ล้านบาท สำหรับปี 2538 เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน คิดเป็นจำนวนเงิน 49.35 ล้านบาท สำหรับปี 2539 เพื่อให้สอดคล้องกับการบันทึกส่วนเกินเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ตามข้อ 1 3. ต้นทุนงานก่อสร้างของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรายได้จากงานก่อสร้าง ซึ่งจาก 85.41% สำหรับปี 2538 เป็น 91.82% สำหรับปี 2539 ทั้งนี้เป็นผลมาจากในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทฯ ได้ ผลิตงานด้านโยธามากกว่างานด้านปิโตรเคมีและเครื่องกล เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2538 ซึ่งงานด้าน โยธาจะมีอัตรากำไรขั้นต้นน้อยกว่างานด้านปิโตรเคมีและเครื่องกล จากสาเหตุดังกล่าวทั้ง 3 ประการข้างต้น จึงมีผลทำให้กำไรสุทธิของบริษัทฯ ลดลงเมื่อเทียบ กับการดำเนินงานในปี 2538