19 พฤศจิกายน 2539

ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง นำส่งงบการเงินและงบการเงินรวมไตรมาส

ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง นำส่งงบการเงินและงบการเงินรวมไตรมาส 3 ณ 30 กันยายน 2539 พร้อม คำชี้แจง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) รายงานสรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน (สอบทานแล้ว) (หน่วย : พันบาท) งบดุล ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 2538 สินทรัพย์หมุนเวียน 4,232,041 3,221,731 สินทรัพย์รวม 7,173,229 4,932,427 หนี้สินหมุนเวียน 2,544,779 1,222,644 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,227,420 1,634,099 งบกำไรขาดทุน ไตรมาสที่ 3 สะสมถึงไตรมาสนี้ งวด 9 เดือน 2539 2538 2539 2538 รายได้จากการขาย 1,542,561 1,111,719 4,357,981 3,586,417 รายได้รวม 1,600,686 1,168,689 4,562,896 3,754,742 ต้นทุนขาย 1,434,733 930,206 3,923,909 3,069,007 ค่าใช้จ่ายในการ 418,169 118,222 715,873 306,025 ดำเนินงาน** กำไรสุทธิ (234,568) 91,271 (107,613) 280,570 กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) (7.82) 3.04 (3.59) 9.35 ** หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดรวมทั้งค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยแต่ไม่รวมภาษีเงินได้ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (สอบทานแล้ว) (หน่วย : พันบาท) งบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 2538 สินทรัพย์หมุนเวียน 4,737,395 3,594,065 สินทรัพย์รวม 7,952,659 5,213,500 หนี้สินหมุนเวียน 3,051,180 1,503,718 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,412,928 1,634,099 งบกำไรขาดทุนรวม ไตรมาสที่ 3 สะสมถึงไตรมาสนี้ งวด 9 เดือน 2539 2538 2539 2538 รายได้จากการขาย 1,722,227 1,268,914 4,829,919 3,957,386 รายได้รวม 1,797,165 1,318,625 5,077,834 4,121,534 ต้นทุนขาย 1,596,409 1,064,915 4,332,600 3,387,241 ค่าใช้จ่ายในการ 458,932 127,880 826,857 347,277 ดำเนินงาน** กำไรสุทธิ (234,568) 91,271 (107,613) 280,570 กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) (7.82) 3.04 (3.59) 9.35 **หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดรวมทั้งค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยแต่ไม่รวมภาษีเงินได้ เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 งบกำไรขาดทุน และ กำไรสะสมรวม สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวดของบริษัท อนึ่งผู้สอบบัญชีได้รายงานอย่างมีเงื่อนไขไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชีและหมายเหตุดังนี้ งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท อ่าวขามไทย จำกัด (มหาชน)) และบริษัท สยามหินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือนและ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 ที่รวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลรวม สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันเดียวกัน มียอดสินทรัพย์เป็นร้อยละ 7.20 ของสินทรัพย์รวมและรายได้ เป็นร้อยละ 0.78 ของรายได้รวม จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อยซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจสอบหรือ สอบทานโดยผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีหรือมาตรฐานการสอบทานงบการเงิน ดังที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 ในปี 2537 บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชี เงินลงทุนในบริษัทร่วม จากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสีย โดยส่วนได้เสียในกำไรของบริษัทร่วมใน งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 จำ นวนเงิน 3.49 ล้านบาท และ 37.39 ล้านบาท 10.80 ล้านบาท และ 33.87 ล้านบาท ตามลำดับ ได้ถือตามข้อมูลที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทร่วม หมายเหตุ 3 - การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ในปี 2537 บริษัทใหญ่ได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมจากวิธีราคาทุนเป็นวิธี ส่วนได้เสีย การบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 ได้ใช้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อการตีราคาเงิน ลงทุนที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทร่วม ซึ่งยังมิได้รับการตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีตาม มาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานการสอบทานงบการเงินสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ผลกระทบต่อกำไรสะสมยกมา ณ วันต้นงวดสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวัน ที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 หากได้ใช้วิธีการบัญชีเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียตั้งแต่วันที่ได้รับ เงินลงทุนมาได้แสดงไว้เป็นรายการแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวได้กระทำขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนด โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามหนังสือลงวันที่ 30 ธันวาคม 2536 ในปี 2539 และ 2538 บริษัทร่วมแห่งหนึ่งได้เพิ่มทุนจดทะเบียน โดยออกจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนใน ราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าแก่ผู้ถือหุ้นใหม่ทั้งจำนวน โดยมีผลให้ส่วนได้เสียของบริษัทในบริษัทร่วมดัง กล่าวเพิ่มขึ้นจำนวน 43.12 ล้านบาท และ 25.71 ล้านบาท ตามลำดับ บริษัทได้บันทึกส่วนได้เสียที่ เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สู่งกว่าราคา ทุนของเงินลงทุน โดยแสดงภายใต้หนี้สินไม่หมุนเวียนในงบการเงินและมีกำหนดตัดบัญชีตามวิธี เส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนจากวิธีราคาทุนเป็น วิธีส่วนได้เสียใน งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน มีดังนี้ ระยะเวลา 3 เดือน ระยะเวลา 9 เดือน (จำนวนเงินล้านบาท นอกจากกำไรต่อหุ้น) ล้านบาท ล้านบาท 2539 2538 2539 2538 เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 187.39 98.68 187.39 98.68 กำไรสะสมต้นงวดเพิ่มขึ้น 114.38 64.26 80.48 41.20 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3.49 10.81 37.39 33.87 กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น (บาท) 0.12 0.36 1.25 1.13 หมายเหตุ 4 - หุ้นกู้แปลงสภาพ บริษัทใหญ่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 80,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 ดอกเบี้ยอัตรา 1.75% สุทธิจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย กำหนดจ่ายปีละครั้งในวันที่ 17 ธันวาคม ทุกปี เริ่มแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2537 และชำระคืนในวันที่ 17 ธันวาคม 2546 ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2537 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 หุ้นกู้แต่ละหุ้นมีสิทธิแปลงสภาพเป็น หุ้นสามัญของบริษัทที่ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้วได้ ในราคาที่กำหนดเบื้องต้น 424 บาท ต่อหุ้น ตามข้อ บังคับของบริษัทบุคคลต่างประเทศอาจถือหุ้นของบริษัทเนื่องจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ ได้ไม่เกิน 45% ของทุนเรือนหุ้นของบริษัทที่ออก หากมีการแปลงสภาพหุ้นกู้ทั้งสิ้น จำนวนหุ้นสามัญทั้งสิ้นที่พึงออก จากการแปลงสภาพจะเท่ากับประมาณ 14% ของทุนเรือนหุ้นที่ออกหลังจากแปลงสภาพแล้ว บริษัทใหญ่อาจไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดได้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2539 เป็นต้นไป ใน ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าหุ้นของบริษัทมีราคาปิดในตลาดหลักทรัพย์ก่อนไถ่ถอนไม่ต่ำ กว่า 150% ของราคาไถ่ถอน ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้บริษัทใหญ่ไถ่ถอนหุ้นกู้ในวันที่ 17 ธันวาคม 2539 ในราคา 112.1637% ของมูลค่าหุ้นกู้ บริษัทใหญ่มีแผนการเงินที่จะใช้เงินที่ได้จากการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้ของบริษัท ให้กู้ยืมแก่บริษัทใน เครือ และใช้เป็นทุนหมุนเวียนของบริษัท ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 อนุมัติให้ บริษัทออกหุ้น กู้แปลงสภาพนี้ได้ และให้สำรองหุ้นสามัญที่ยังมิได้เรียกชำระ จำนวน 6 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้น ละ 10 บาท เพื่อรองรับการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญนี้ บริษัทใหญ่บันทึกสำรอง เพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ ในราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 12.1637% ในสัดส่วนร้อยละ 100 และร้อยละ 5 ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้น ในปี 2539 และ 2538 ตามลำดับ โดยได้รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 43/2539 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2539 และครั้งที่ 51/2538 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2538 ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 สำรองดังกล่าวมีจำนวนเงินประมาณ 274.85 ล้านบาท และ 11.40 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งได้แสดงเป็นสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ ในงบการเงิน หมายเหตุ 6 - ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ในปี 2539 บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ได้ตีราคาที่ดินเพิ่มจำนวน 834.57 ล้านบาท และ 185.97 ล้านบาท ตามลำดับ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 12/2539 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2539 และครั้งที่ 4/2539 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 และได้บันทึกส่วนที่ตีราคาเพิ่มดัง กล่าวเป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุ 7 - ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ จำนวน 247.36 ล้านบาท และ 262.31 ล้านบาท 1.14 ล้านบาท และ 3.43 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นใน การออกหุ้นกู้แปลงสภาพตัดบัญชี จำนวนเงิน 46.25 ล้านบาท และ 49.35 ล้านบาท 1.55 ล้านบาท และ 4.65 ล้านบาท ตามลำดับ และตามที่บริษัทฯ ได้นำส่งงบการเงินประจำไตรมาสที่ 3/2539 ซึ่งได้แสดงผลกำไรสุทธิ ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2538 ประมาณ 357.00% สำหรับไตรมาส และ 138.36% สำหรับงวด เก้าเดือนรายละเอียดตามหนังสือบริษัทฯ ที่ บช.ซท.226/2539 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539 บริษัทฯ ใคร่ขอชี้แจงสาเหตุ ดังต่อไปนี้ 1. บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงการบันทึกสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ ในราคาที่สูงกว่าราคาตาม มูลค่าหุ้นกู้จำนวน 12.1637% จากสัดส่วน 5% ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 1.14 ล้านบาท สำหรับไตรมาสและ 3.43 ล้านบาท สำหรับงวดเก้าเดือนในปี 2538 เป็นสัดส่วน 100% ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 247.36 ล้านบาท สำหรับไตรมาส และ 262.31 ล้านบาท สำหรับงวดเก้าเดือน ในปี 2539 2. บริษัทฯ ได้ตัดบัญชีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการออกหุ้นกู้รอตัดบัญชี จากระยะเวลา 10 ปี คิดเป็น จำนวนเงิน 1.55 ล้านบาท สำหรับไตรมาส และ 4.65 ล้านบาท สำหรับงวดเก้าเดือนในปี 2538 เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน คิดเป็นจำนวนเงิน 46.26 ล้านบาท สำหรับไตรมาส และ 49.35 ล้านบาท สำหรับงวดเก้าเดือนในปี 2539 เพื่อให้สอดคล้องกับการบันทึกสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ตามข้อ 1 3. ต้นทุนงานก่อสร้างของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับยอดรายได้จากงานก่อสร้าง (จาก 83.67% เป็น 93.01% สำหรับไตรมาส และจาก 85.57% เป็น 90.04% สำหรับงวดเก้าเดือน) ทั้ง นี้เป็นผลมาจากในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทฯได้ผลิตผลงานด้านงานโยธามากกว่างานด้านปิโตรเคมีและ เครื่องกล เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2538 ซึ่งงานด้านโยธาจะมีอัตรากำไรขั้น ต้นน้อยกว่างานด้านปิโตรเคมีและเครื่องกล