04 มีนาคม 2539

งบเดี่ยว

งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 งบกำไร ขาดทุนและกำไรสะสมและงบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปี ของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามมาตรฐาน การสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งรวมทั้งการทดสอบรายการบัญชี และวิธีการตรวจสอบอื่นที่ เห็นว่าจำเป็นแล้ว ดังที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2 บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการ บันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม จากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสีย โดยส่วน ได้เสียในกำไรของบริษัทร่วม สำหรับปี 2538 และ 2537 จำนวนเงิน 42.77 ล้านบาท และ 35.42 ล้านบาท ตามลำดับ ได้ถือตามข้อมูลที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทร่วม ข้าพเจ้าเห็นว่า ขึ้นอยู่กับผลของรายการปรับปรุงที่อาจมีขึ้นต่องบการเงินปี 2538 และ 2537 ถ้าหากข้าพเจ้าสามารถตรวจสอบงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 ของบริษัทร่วมตามที่กล่าวในวรรคที่สองได้ งบการเงินดังกล่าว แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 ผลการดำเนินงานและ กระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปี ของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควร และได้ทำขึ้นตามหลักการ บัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งได้ถือปฎิบัติเช่นเดียวกันโดยสม่ำเสมอ (นายนิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 2316 บริษัท สำนักงาน พีทมาร์วิค สุธี จำกัด กรุงเทพฯ 26 กุมภาพันธ์ 2539 บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 2538 2537 สินทรัพย์ บาท บาท สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากธนาคาร (หมายเหตุ 1 และ 3) 35,702,457.50 79,669,705.75 ตั๋วเงินรับ - บริษัทการเงิน 525,640,000.00 667,000,000.00 เงินลงทุนระยะสั้น 375,908,345.0 444,782,655.00 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ (หมายเหตุ 1 และ 4) 1,482,032,143.56 1,055,938,049.94 ลูกหนี้บริษัทในเครือและ บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ (หมายเหตุ 1 และ 5) 23,132,881.81 57,972,715.55 ลูกหนี้เงินประกันผลงาน - สุทธิ (หมายเหตุ 1 และ 6) 258,190,406.23 272,069,739.78 งานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา (หมายเหตุ 1) 537,205,224.00 679,886,446.00 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (หมายเหตุ 1 และ 7) 87,456,670.69 67,973,716.17 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 3,325,268,128.79 3,325,293,028.19 เงินให้กู้ยืม และเงินทดรองแก่กรรมการ และลูกจ้าง - สุทธิ (หมายเหตุ 1) 9,753,303.45 9,989,037.62 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 44,240,000.00 57,240,000.00 เงินลงทุน (หมายเหตุ 1, 2 และ 8) 1,029,926,363.64 519,640,598.56 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ (หมายเหตุ 1 และ 9) 424,207,252.14 329,384,211.07 อาคารชุด 159,192,868.38 159,183,801.78 เงินล่วงหน้าซื้ออาคารชุด 64,218,894.07 63,500,371.41 สินทรัพย์อื่น (หมายเหตุ 1) 112,190,264.41 117,447,808.17 รวมสินทรัพย์ 5,168,997,074.88 4,581,678,856.80 _______________________ _______________________ กรรมการ กรรมการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 2538 2537 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น บาท บาท หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร (หมายเหตุ 1 และ 3) 185,992,633.26 7,871,126.57 เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท - 2,940,240.44 เงินกู้ยืมระยะสั้น 290,000,000.00 160,000,000.00 เจ้าหนี้การค้า 468,972,014.17 494,489,268.21 เจ้าหนี้บริษัทในเครือและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 18,602,943.64 9,129,814.66 เงินรับล่วงหน้าตามสัญญา 269,387,120.64 251,714,949.57 ภาษีเงินได้ค้างจ่าย - 1,860,413.00 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 137,753,848.78 117,616,690.15 รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,370,708,560.49 1,045,622,502.60 หุ้นกู้แปลงสภาพ (หมายเหตุ 1 และ 10) 2,046,139,706.84 2,041,564,106.84 หนี้สินอื่น 5,689,643.30 6,881,086.41 ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของ เงินลงทุน (หมายเหตุ 2) 23,785,359.00 - รวมหนี้สิน 3,446,323,269.63 3,094,067,695.85 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท (หมายเหตุ 11) ทุนจดทะเบียน หุ้นบุริมสิทธิ 7,000,000 หุ้น 70,000,000.00 70,000,000.00 หุ้นสามัญ 68,000,000 หุ้น 680,000,000.00 680,000,000.00 ทุนที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นบุริมสิทธิ 7,000,000 หุ้น 70,000,000.00 70,000,000.00 หุ้นสามัญ 23,000,000 หุ้น 230,000,000.00 230,000,000.00 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 486,000,000.00 486,000,000.00 กำไรสะสม จัดสรรแล้ว - สำรองตามกฎหมาย 30,108,226.64 13,582,470.07 ยังไม่ได้จัดสรร 906,565,578.61 688,028,690.88 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 1,722,673,805.25 1,487,611,160.95 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 5,168,997,074.88 4,581,678,856.80 _______________________ _______________________ กรรมการ กรรมการ ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) งบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 2538 2537 บาท บาท รายได้ (หมายเหตุ 1) รายได้จากงานก่อสร้าง 4,846,434,195.75 3,786,434,160.22 ส่วนของกำไรของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม (หมายเหตุ 2) 61,687,218.47 47,148,843.62 รายได้อื่น 155,423,285.74 236,008,789.10 รวมรายได้ 5,063,544,699.96 4,069,591,792.94 ค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 1) ต้นทุนงานก่อสร้าง 4,139,468,570.73 3,292,940,644.53 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 355,312,459.02 265,162,137.86 ดอกเบี้ยจ่าย (หมายเหตุ 12) 67,493,525.40 55,813,999.75 ภาษีเงินได้ 132,125,347.12 125,159,879.31 รวมค่าใช้จ่าย 4,694,399,902.27 3,739,076,661.45 กำไรสุทธิ 369,144,797.69 330,515,131.49 กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรต้นปี 580,819,225.85 416,035,408.05 ค่าความนิยมของเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ตัดบัญชีและส่วนแบ่งในกำไรตามวิธีส่วนได้เสีย ในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมยกมาต้นปี (หมายเหตุ 2) 107,209,465.03 60,060,621.41 ส่วนปรับปรุงกำไรสะสมต้นปีของบริษัทร่วม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้น (หมายเหตุ 2) (6,582,153.39) - กำไรจัดสรร สำรองตามกฎหมาย (16,525,756.57) (13,582,470.07) เงินปันผลจ่าย (127,500,000.00) (105,000,000.00) กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรสิ้นปี 906,565,578.61 688,028,690.88 กำไรต่อหุ้น (หมายเหตุ 1) 12.31 11.02 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) งบกระแสเงินสด สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 2538 2537 บาท บาท กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสุทธิ 369,144,797.69 330,515,131.49 รายการปรับกระทบยอดกำไรสุทธิเป็นเงินสดสุทธิรับ(จ่าย) จากกิจกรรมดำเนินงาน สำรองเผื่อการลดค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ - 5,000,000.00 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 339,956.28 (4,832.52) กำไรของบริษัทร่วมและบริษัทย่อยที่ยังไม่ได้แบ่ง (61,687,218.47) (47,148,843.62) ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี 61,377,595.14 54,275,207.76 (กำไร) ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร (2,763,513.18) 1,032,829.23 สำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ 4,575,600.00 4,575,600.00 ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น (426,094,093.62) (372,555,229.76) ลูกหนี้บริษัทในเครือและ บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันลดลง (เพิ่มขึ้น) 34,839,833.74 (57,016,982.92) งานระหว่างก่อสร้างตามสัญญาลดลง (เพิ่มขึ้น) 142,681,222.00 (560,801,698.27) เจ้าหนี้การค้า (ลดลง) เพิ่มขึ้น (25,654,244.13) 242,312,777.24 เจ้าหนี้บริษัทในเครือและ บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น 9,473,128.98 5,339,455.69 การเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินและหนี้สินจากกิจกรรมดำเนินงาน ลูกหนี้เงินประกันผลงานลดลง (เพิ่มขึ้น) 13,879,333.55 (134,499,983.62) สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น (26,982,954.52) (35,399,154.88) เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีทลดลง (2,940,240.44) (29,896,171.93) เงินรับล่วงหน้าตามสัญญาเพิ่มขึ้น 17,672,171.07 131,973,083.72 ภาษีเงินได้ค้างจ่ายลดลง (1,860,413.00) (30,339,039.16) หนี้สินหมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 20,137,158.63 7,005,661.57 เงินปันผลรับ (10,604,553.00) (6,139,047.05) เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 115,533,566.72 (491,771,237.03) 2538 2537 บาท บาท กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินลงทุนเพิ่มขึ้น (360,592,490.00) (499,249,100.53) เงินสดจ่ายซื้อทรัพย์สินถาวร (167,458,131.87) (87,275,806.65) เงินสดรับจากการขายทรัพย์สินถาวร 21,359,734.64 5,272,375.09 อาคารชุดเพิ่มขึ้น (9,066.60) (1,060,914.18) เงินล่วงหน้าซื้ออาคารชุด (เพิ่มขึ้น) ลดลง (718,522.66) 679,104.00 สินทรัพย์อื่นเพิ่มขึ้น (5,865,005.56) (29,023,564.95) เงินปันผลรับ 18,104,553.00 6,139,047.05 เงินสดสุทธิที่ใช้ในกิจกรรมการลงทุน (495,178,929.05) (604,518,860.17) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ตั๋วเงินรับบริษัทการเงินลดลง 141,360,000.00 561,000,000.00 เงินให้กู้ยืมและเงินทดรองแก่กรรมการ และลูกจ้างเพิ่มขึ้น (104,222.11) (7,216,769.98) เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือและ บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันลดลง 13,000,000.00 360,715,944.64 เงินกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น 280,000,000.00 160,000,000.00 หนี้สินอื่นเพิ่มขึ้น 800,829.50 963,063.25 จ่ายเงินปันผล (127,500,000.00) (105,000,000.00) เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน 307,556,607.39 970,462,237.91 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง (72,088,754.94) (125,827,859.29) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือ ณ วันต้นปี (หมายเหตุ 1 และ 3) 71,798,579.18 197,626,438.47 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือ ณ วันสิ้นปี (หมายเหตุ 1 และ 3) (290,175.76) 71,798,579.18 ข้อมูลกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม เงินสดจ่ายในระหว่างปี ดอกเบี้ยจ่าย 62,625,329.32 55,667,720.34 ภาษีเงินได้ 134,734,520.02 177,149,042.66 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงิน 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 หมายเหตุ 1 - สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ การรับรู้รายได้ รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จซึ่ง ประเมินโดยวิศวกรของบริษัทรายได้ที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ส่วนที่เกินกว่ารายได้ที่มีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้วทั้งสิ้นบันทึกเป็น ลูกหนี้การค้า รายได้อื่นบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ การรับรู้ค่าใช้จ่าย ต้นทุนงานก่อสร้างบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุน โดยประมาณหรือตามต้นทุนงาน ก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ผลต่างระหว่างต้นทุนที่บันทึก ตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณและต้นทุนงาน ก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีที่บริษัทบันทึกต้นทุนตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำ เสร็จบันทึกเป็นงานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา ค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินสดและเงินฝากธนาคารสุทธิจาก เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ เงินลงทุน เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนแสดงในราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมที่ต่ำกว่า เงินลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทถือหุ้นในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 และกิจการ ร่วมค้า แสดงในราคาทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมแสดงตามวิธีส่วนได้ เสีย ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตาม เกณฑ์อายุการใช้สินทรัพย์โดยประมาณระหว่าง 5-20 ปี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ซึ่งรวมอยู่ในสินทรัพย์อื่น ได้แก่ค่าธรรมเนียมการประกันและ จำหน่ายหลักทรัพย์ และค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ มีกำหนดตัดบัญชีภายใน ระยะเวลา 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ บัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิด รายการ หนี้สินที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศ ณ วันสิ้นปี แปลงค่าเป็นเงินบาทโดย ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น และในกรณีที่มีสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ล่วงหน้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา หุ้นกู้แปลงสภาพบันทึกในราคาแปลงสภาพ ตามที่กำหนด กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าแสดงในงบกำไรขาดทุน กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิสำหรับปีด้วยจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว ณ วันสิ้นปี บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นลดลงเต็มที่เนื่องจากกำไรต่อหุ้นลดลงเต็มที่ปี 2538 และ 2537 ต่างจากกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานตามวิธีข้างต้น ไม่ถึงร้อยละสิบ หมายเหตุ 2 - การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ในปี 2537 บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม จากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสีย การบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมโดยวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินสำหรับ ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 ได้ใช้ข้อมูลทางการเงินที่ได้รับ การตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้วสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและได้ใช้ข้อมูลทาง การเงิน เพื่อการตีราคาเงินลงทุนที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทร่วม ซึ่งยังมิได้รับ การตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐาน การสอบทานงบการเงินสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ผลกระทบต่อกำไรสะสมยกมา ณ วันต้นปีของปี 2538 และ 2537 หากได้ใช้วิธี การบัญชีเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียตั้งแต่วันที่ได้รับเงินลงทุนมาได้แสดงไว้เป็น รายการแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวได้กระทำขึ่น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิ บัติที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามหนังสือลงวันที่ 30 ธันวาคม 2536 ในปี 2538 บริษัทร่วมแห่งหนึ่งได้เพิ่มทุนจดทะเบียนโดยออกจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนใน ราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าแก่ผู้ถือหุ้นใหม่ทั้งจำนวน โดยมีผลให้ส่วนได้เสีย ของบริษัทในบริษัทร่วมดังกล่าวเพิ่มขึ้นจำนวน 25,713,900 บาท บริษัทได้บันทึกส่วน ได้เสียที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นส่วนเกินของ ราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน โดยแสดงภายใต้หนี้สินไม่หมุนเวียนใน งบการเงินและมีกำหนดตัดบัญชีตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วน ได้เสียสำหรับงบการเงินปี 2538 และ 2537 มีดังนี้ 2538 2537 (จำนวนเงินล้านบาท นอกจากกำไรต่อหุ้น) ล้านบาท ล้านบาท เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 185.93 105.81 กำไรสะสมต้นปีเพิ่มขึ้น 100.63 60.06 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 61.69 47.15 กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น (บาท) 2.06 1.57 หมายเหตุ 3 - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2538 2537 บาท บาท เงินสดและเงินฝากธนาคาร 35,702,457.50 79,669,705.75 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (35,992,633.26) (7,871,126.57) (290,175.76) 71,798,579.18 หมายเหตุ 4 - ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2538 2537 บาท บาท ลูกหนี้การค้า 1,517,417,484.48 1,091,323,390.86 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (35,385,340.92) (35,385,340.92) รวม 1,482,032,143.56 1,055,938,049.94 หมายเหตุ 5 - ลูกหนี้บริษัทในเครือและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้บริษัทในเครือและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2538 2537 บาท บาท ลูกหนี้บริษัทในเครือและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 74,513,312.28 109,341,146.02 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (51,380,430.47) (51,368,430.47) รวม 23,132,881.81 57,972,715.55 หมายเหตุ 6 - ลูกหนี้เงินประกันผลงาน ลูกหนี้เงินประกันผลงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2538 2537 บาท บาท ลูกหนี้เงินประกันผลงาน 259,140,406.23 273,019,739.78 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (950,000.00) (950,000.00) รวม 258,190,406.23 272,069,739.78 หมายเหตุ 7 - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2538 2537 บาท บาท ลูกหนี้อื่น 94,444,146.20 72,661,401.96 อื่น ๆ 12,344,076.85 14,643,866.57 106,788,223.05 87,305,268.53 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (19,331,552.36) (19,331,552.36) รวม 87,456,670.69 67,973,716.17 หมายเหตุ 8 - เงินลงทุน เงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2538 2537 บาท บาท เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม (ราคาทุน) 307,385,075.00 298,740,500.00 เงินลงทุนในหลักทรัพย์อื่น 542,842,566.53 121,320,541.53 เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า 24,836,707.25 24,836,707.25 ส่วนของกำไรของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ตามวิธีส่วนได้เสีย 185,928,830.11 105,809,665.03 1,060,993,178.89 550,707,413.81 หัก ค่าเผื่อการลดราคาของเงินลงทุน (31,066,815.25) (31,066,815.25) รวม 1,029,926,363.64 519,640,598.56 เงินลงทุนในหลักทรัพย์อื่นซึ่งมีราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 จำนวน 126.22 ล้านบาท มีมูลค่าตามบัญชีคงเหลือตามงบการเงินของบริษัท จำนวน 107.76 ล้านบาท บริษัทยังไม่ได้ปรับปรุงผลขาดทุนจากเงินลงทุนดังกล่าว เนื่องจากผู้บริหาร เชื่อว่าบริษัทดังกล่าวมีโอกาสฟื้นตัวในอนาคต หมายเหตุ 9 - ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2538 2537 บาท บาท ที่ดิน 138,725,431.91 136,121,252.96 ส่วนปรับปรุงที่ดิน 11,069,114.90 6,098,373.96 อาคาร 57,643,693.36 39,773,440.66 ส่วนปรับปรุงอาคารตามสัญญาเช่า 20,186,155.35 15,551,738.69 เครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง 255,462,513.39 222,725,592.19 เครื่องตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงาน 84,983,146.04 70,106,518.62 ยานพาหนะ 30,761,315.28 42,649,364.83 สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้าง 62,912,676.55 675,725.00 661,744,046.78 533,702,006.91 หัก ค่าเสื่อมราคาและ รายการตัดบัญชีสะสม (237,536,794.64)(204,317,795.84) ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ 424,207,252.14 329,384,211.07 หมายเหตุ 10 - หุ้นกู้แปลงสภาพ บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 80,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม 2536 ดอกเบี้ยอัตรา 1.75% สุทธิจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย กำหนดจ่ายปีละครั้งในวันที่ 17 ธันวาคม ทุกปี เริ่มแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2537 และ ชำระคืนในวันที่ 17 ธันวาคม 2546 ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2537 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 หุ้นกู้แต่ละหุ้นมีสิทธิ แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัทที่ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้วได้ ในราคาที่กำหนด เบื้องต้น 424 บาท ต่อหุ้น ตามข้อบังคับของบริษัทบุคคลต่างประเทศอาจถือหุ้น ของบริษัทเนื่องจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ได้ไม่เกิน 45% ของทุนเรือนหุ้น ของบริษัทที่ออก หากมีการแปลงสภาพหุ้นกู้ทั้งสิ้น จำนวนหุ้นสามัญทั้งสิ้นที่พึงออกจาก การแปลงสภาพจะเท่ากับประมาณ 14% ของทุนเรือนหุ้นที่ออกหลังจากแปลงสภาพแล้ว บริษัทอาจไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดได้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2539 เป็น ต้นไป ในราคาตาม มูลค่าหุ้นกู้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าหุ้นของบริษัทมีราคาปิดใน ตลาดหลักทรัพย์ก่อนไถ่ถอนไม่ต่ำกว่า 150% ของราคาไถ่ถอน ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้บริษัทไถ่ถอนหุ้นกู้ในวันที่ 17 ธันวาคม 2539 ในราคา 112.1637% ของมูลค่าหุ้นกู้ บริษัทมีแผนการเงินที่จะใช้เงินที่ได้จากการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้ของบริษัท ให้กู้ยืม แก่บริษัทในเครือ และใช้เป็นทุนหมุนเวียนของบริษัท ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 อนุมัติ ให้บริษัทออก หุ้นกู้แปลงสภาพนี้ได้ และให้สำรองหุ้นสามัญที่ยังมิได้เรียกชำระจำนวน 6 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เพื่อรองรับการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญนี้ บริษัทบันทึกสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ในราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ในปี 2538 และ 2537 จำนวน 12.1637% ในสัดส่วนร้อยละ 5 ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้นโดยได้รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ บริหาร ครั้งที่ 58/2538 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538 และ ครั้งที่ 48/2537 เมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2537 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 สำรอง ดังกล่าวมีจำนวนเงินประมาณ 12.54 ล้านบาท และ 7.96 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่ง ได้แสดงเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นกู้แปลงสภาพ หมายเหตุ 11 - ทุนเรือนหุ้น หุ้นทุนของบริษัทแบ่งออกเป็นหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ สิทธิของหุ้นบุริมสิทธิ มีดังต่อไปนี้ (ก) มีสิทธิได้รับเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญ (ข) ถ้ากำไรสุทธิของบริษัทในรอบปีบัญชีใดก็ตาม มีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับ อัตราร้อยละ 9 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่ได้ชำระแล้วทั้งหมด ให้ถือว่าสิทธิใน เงินปันผลของรอบปีบัญชีดังกล่าวเป็นของหุ้นบุริมสิทธิทั้งหมด และสิทธิในเงินปัน ผลจำนวนนี้ไม่มีการนับต่อเนื่องในปีถัดไป (ค) ถ้ากำไรสุทธิของบริษัทในรอบปีบัญชีใดมีจำนวนสูงกว่าอัตราร้อยละ 9 ของมูลค่า หุ้นบุริมสิทธิที่ได้รับชำระแล้วทั้งหมด ให้ประกาศจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ตามข้อ(ข) ก่อนและส่วนที่เกินกว่าอัตราร้อยละ 9 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่ได้รับ ชำระแล้วทั้งหมดนั้น ให้ประกาศจ่ายเป็นเงินปันผลแก่หุ้นสามัญในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 9 ของมูลค่าหุ้นสามัญที่ชำระแล้วทั้งหมด (ง) ถ้ากำไรสุทธิของรอบปีบัญชีใดมีจำนวนสูงกว่า อัตราที่กำหนดไว้ในข้อ (ค) ให้ ประกาศจัดสรรเงินกำไรของส่วนที่เหลือจากข้อ (ค) เป็นเงินปันผลให้แก่หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ ตามสัดส่วนของหุ้นตามปกติ ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติพิเศษ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 ให้เพิ่มทุนเรือนหุ้นของบริษัทจาก 255 ล้านบาท ซึ่ง ประกอบด้วยหุ้นบุริมสิทธิ 7 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นสามัญ 18.5 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็น 750 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นบุริมสิทธิ 7 ล้าน หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นสามัญ 68 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยนำหุ้น สามัญออกจำหน่ายครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2535 จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ในราคา หุ้นละ 118 บาทบริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2535 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่23กรกฎาคม 2536 ได้มีมติให้ยืนยันมติพิเศษการ เพิ่มทุนของที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 หมายเหตุ 12 - ดอกเบี้ยจ่าย ดอกเบี้ยจ่ายในปี 2538 และ 2537 ได้รวมสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ในราคาที่ สูงกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ จำนวนเงินประมาณ 4.57 ล้านบาท หมายเหตุ 13 - หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 และ 2537 บริษัทมีภาระการค้ำประกันสินเชื่อให้ แก่บริษัทในเครือ ในวงเงินประมาณ 1,240.09 ล้านบาท และ 913 ล้านบาท ตามลำดับ ผู้บริหารเชื่อว่าบริษัทในเครือดังกล่าวไม่มีปัญหาในการชำระหนี้ บริษัทถูกประเมินภาษีการค้า สำหรับปี 2531 เป็นจำนวนเงิน 7.1 ล้านบาท บริษัท ได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของกรมสรรพากรแล้ว ผลการอุทธรณ์ยังไม่อาจทราบได้ในปัจจุบัน บริษัทยังไม่ได้บันทึกบัญชีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น จากการถูกประเมินภาษีดังกล่าว หมายเหตุ 14 - การจำแนกข้อมูลทางการเงินตามส่วนงาน บริษัทประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างเพียงประเภทเดียว จึงไม่มีข้อมูลทางการเงิน จำแนกตามส่วนงานที่จะต้องเปิดเผยไว้ในงบการเงิน หมายเหตุ 15 - การจัดประเภทรายการใหม่ งบการเงินปี 2537 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ ได้จัดประเภทรายการใหม่ให้ สอดคล้องกับงบการเงินปี 25