18 May 1999
การเงินและงบการเงินรวมไตรมาสที่ 1/2542
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบกระแสเงินสด
สำหรับระยะเวลา 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2542 และ 2541
(ยังไม่ได้ตรวจสอบ)
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2542 2541 2542 2541
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (202,308) 794,716 (202,308) 794,716
รายการปรับกระทบยอดกำไร(ขาดทุน)สุทธิเป็นเงินสดสุทธิรับ(จ่าย)
จากกิจกรรมดำเนินงาน
หนี้สงสัยจะสูญ 20,604 - 2,847 -
ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี 26,992 27,001 24,943 22,974
กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร (1,532) (295) (1,163) (255)
(กำไร)ขาดทุนจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
และกิจการร่วมค้าที่ยังไม่ได้แบ่ง (2,702) (13,995) 35,771 (46,974)
กำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดจากการที่ตลาดฟื้นตัวสำหรับ
หลักทรัพย์หุ้นทุนในความต้องการของตลาดประเภทหมุนเวียน (2,052) (21,052) (2,052) (21,052)
ขาดทุนจากการขายอาคารชุด 829 - 829 -
ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร 859 2,097 859 643
ค่าเผื่อการลดลงของสินทรัพย์ถาวร - 43,774 - -
(กำไร)ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้น 71,781 (797,321) 80,251 (758,492)
ต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (1,038) - (1,038) -
ผลขาดทุนจากหลักทรัพย์หุ้นทุนประเภทไม่หมุนเวียน 1,162 - - -
ค่าเผื่อการลดลงของสินค้าเสื่อมสภาพ (183) (1,454) - -
กำไรจากการยึดคืนสินค้า (2,330) - - -
การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินจากกิจกรรมดำเนินงาน
สินทรัพย์ดำเนินงาน(เพิ่มขึ้น)ลดลง
เงินฝากธนาคาร - ที่ติดภาระค้ำประกัน (239,329) - (223,910) -
ลูกหนี้การค้า (10,246) 478,137 (39,861) 462,715
ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (91,127) (90,948) 2,659 (92,402)
ลูกหนี้เงินประกันผลงาน 26,608 25,394 26,767 25,380
สินค้าคงเหลือ 44,589 (4,448) - -
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (31,824) (68,598) (33,887) (65,843)
เงินให้กู้ยืมและเงินทดรองแก่กรรมการและลูกจ้าง (3,758) 10,994 (925) 11,996
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
2542 2541 2542 2541
หนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้น(ลดลง)
เจ้าหนี้การค้า (67,387) 10,432 (32,090) (1,898)
เจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (665) (9,383) (1,045) (15,904)
เงินรับล่วงหน้าตามสัญญา 75,665 (60,586) 73,096 (33,465)
สำรองจากการทำงบการเงินรวม - (31,931) - -
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 103,165 56,181 91,667 55,433
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (284,227) 348,715 (198,590) 337,572 (19,176.00)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน(เพิ่มขึ้น)ลดลง (557) - 24,504 -
เงินลงทุนระยะสั้น(เพิ่มขึ้น)ลดลง 3,798 (175) 3,798 (175)
เงินลงทุน(เพิ่มขึ้น)ลดลง (97,181) 21,068 (120,171) 456
เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร (19,737) (13,362) (18,859) (6,918)
สินทรัพย์ถาวรลดลง 24,527 - - -
เงินสดรับจากการขายสินทรัพย์ถาวร 5,561 440 4,289 400
อาคารชุดลดลง 5,583 - 5,583 -
เงินล่วงหน้าซื้ออาคารชุดลดลง - (2,481) - (2,481)
สินทรัพย์อื่น(เพิ่มขึ้น)ลดลง 4,791 27,883 2,721 (1,491)
เงินสดสุทธิที่ใช้ในกิจกรรมการลงทุน (73,215) 33,373 (98,135) (10,209)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
ตั๋วเงินรับบริษัทการเงินเพิ่มขึ้น (1,430) (496,771) - (496,771)
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคารเพิ่มขึ้น 36,729 105,957 5,815 120,526
เงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้น - 30,000 - -
เงินให้กู้ยืมกิจการที่เกี่ยวข้องกันลดลง 28,280 155,000 28,280 155,000
หนี้สินอื่นเพิ่มขึ้น(ลดลง) 717 (34,644) 717 (293)
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้น(ลดลง) 15,831 (26,162) - -
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน 80,127 (266,620) 34,812 (221,538)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ (277,315) 115,468 (261,913) 105,825
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือ
ณ วันต้นงวด (หมายเหตุ 4 และ 6) 794,792 43,409 771,608 42,400
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือ
ณ วันสิ้นงวด (หมายเหตุ 4 และ 6) 517,477 158,877 509,695 148,225
ข้อมูลกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม
เงินสดจ่ายในระหว่างงวด
ดอกเบี้ยจ่าย 12,284 50,415 3,569 39,012
ภาษีเงินได้ 22,492 40,548 21,677 40,541
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
31 มีนาคม 2542 และ 2541
(ยังไม่ได้ตรวจสอบ)
หมายเหตุ 1 - สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและหลักในการทำงบการเงิน
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 ประเทศไทยและบางประเทศในเขตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคประสบปัญหาความยุ่งยากทาง
เศรษฐกิจ อันเกี่ยวเนื่องกับการลดลงของมูลค่าของหน่วยเงินตราและการลดลงของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ มีผลให้รัฐบาลไทยต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อผ่อนคลายและแก้ไขวิกฤต
การณ์ทางเศรษฐกิจ งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") และ
บริษัทย่อยสำหรับระยะเวลา 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2542 และ 2541 และงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯสำหรับ
รอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันได้ทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทย โดยถือตามข้อสมมติฐานทาง
บัญชีที่ว่ากิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกันโดยสม่ำเสมอ โดยสะท้อนถึงผลกระทบจาก
สภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งประเมินโดยฝ่ายบริหารของบริษัทฯและบริษัทย่อย อย่างไรก็ตามการดำเนินธุรกิจ
ของบริษัทฯและบริษัทย่อยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2540 ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิ
ภาคเอเชียแปซิฟิคโดยรวม ผลกระทบจากความไม่แน่นอนเหล่านี้ต่อมูลค่าและการจัดประเภทของสินทรัพย์และหนี้สิน
ในงบดุล ยังไม่อาจประมาณได้ในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น งบการเงินรวมของบริษัทฯและบริษัทย่อยสำหรับ
ระยะเวลา 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2542 และ 2541 และงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯสำหรับรอบระยะเวลา
บัญชีเดียวกัน จึงยังไม่ได้รวมรายการปรับปรุงซึ่งอาจมีขึ้นจากผลกระทบของสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนดังกล่าว เนื่อง
จากรายการปรับปรุงเหล่านั้นยังมีความไม่แน่นอนและไม่สามารถประมาณได้
จากผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญจากการลดค่าเงินข้างต้น ทำให้อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทและเงื่อนไขต่าง ๆ ไม่
เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเงินกู้ จึงทำให้เข้าข่ายผิดสัญญา ซึ่งเจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิเรียกคืนเงินต้นพร้อมดอก
เบี้ยได้ทันที ในวันที่ 20 สิงหาคม 2541 และ 4 กันยายน 2541 เจ้าหนี้เงินกู้ยืมได้แจ้งต่อบริษัท เพื่อจะใช้สิทธิเรียกร้องให้
บริษัทชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดตามที่ระบุในสัญญาเงินกู้ ทั้งนี้บริษัทได้แต่งตั้งที่ปรึกษาทางด้านการเงินเพื่อช่วยในการ
จัดทำแผนและดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงิน
ในขณะที่บริษัทและที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทกำลังดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานและประมาณการทาง
ด้านการเงินสำหรับการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างอยู่นั้น ไม่มีข้อประกันว่าการเจรจาดังกล่าวจะประสบความสำเร็จ
แผนการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินดังกล่าวนั้นอาจรวมถึงการชะลอการจ่ายคืนเงินต้นเป็นเวลาหลายปี และการ
จ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าอัตราทั่วไป
หมายเหตุ 2 - มูลฐานของงบการเงินรวม
2.1 มูลฐานในการจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินรวมของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และ
งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ ได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทยและตามข้อ
กำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
ไทย
2.2 เกณฑ์การเสนองบการเงินรวม
งบการเงินรวมสำหรับระยะเวลา 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2542 ประกอบด้วย งบการเงินของ บริษัท
ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และงบการเงินของบริษัทย่อยและงบการเงินรวม
สำหรับระยะเวลา 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 ประกอบด้วย งบการเงินของ บริษัท ซิโน-ไทย
เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และงบการเงินของบริษัทย่อยและบริษัทย่อยของบริษัทย่อย
ดังนี้
อัตราร้อยละของ
ยอดสินทรัพย์ ยอดรายได้
ที่รวมอยู่ใน ที่รวมอยู่ใน
การถือหุ้น สินทรัพย์รวม รายได้รวม
โดยบริษัท ในงบการเงินรวม ในงบการเงินรวม
2542 2541 2542 2541 2542 2541
บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยตรง : -
บริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด 99.99 99.99 5.85 8.03 5.35 4.37
บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์
จำกัด (มหาชน) 51.16 51.16 6.86 4.97 3.19 0.57
บริษัทย่อยของบริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยอ้อม : -
( ถือหุ้นโดยบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน))
บริษัท สยามหินประดับ จำกัด - 35.81
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2542 บริษัทไม่นำงบการเงินของบริษัท สยามหินประดับ จำกัด มาจัดทำงบการเงินรวม เนื่องจากที่
ประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542
ได้มีมติให้จำหน่ายหุ้นของบริษัท สยามหินประดับ จำกัด ให้กับบุคคลภายนอก จากเดิมบริษัทถืออยู่ร้อยละ 70 ลดลง
เหลือเพียงร้อยละ 19 บริษัทจึงไม่ได้นำงบการเงินดังกล่าวมาจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินของบริษัท สยามหินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 ที่นำมาทำ
งบการเงินรวมเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น ณ วันที่ 31 มีนาคม
2541 ร้อยละ 70 เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีส่วนร่วมในการกำหนด
นโยบายทางการเงินและการดำเนินงาน
ในการจัดทำงบการเงินรวมได้ตัดรายการค้าและยอดคงเหลือระหว่างกันที่เป็นสาระสำคัญออกแล้ว
2.3 ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน และส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชี
ของเงินลงทุน
ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทใหญ่เข้าไปถือหุ้นในบริษัท
ร่วมในปีก่อน ๆ ได้ถูกตัดบัญชีและแสดงอยู่ในกำไรสะสม ณ วันซื้อ
ส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมมีกำหนดตัดบัญชีเป็น
ค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี
หมายเหตุ 3 - การดำเนินงานของบริษัทย่อย
บริษัทย่อยได้รับหนังสือแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเข้าเกณฑ์อาจถูกเพิกถอนออกจากการ
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ตามหนังสือเลขที่ บจ./ม 1921/2540 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2540 เนื่องจากสินทรัพย์ที่ใช้ใน
การดำเนินการของบริษัทได้ลดลงในจำนวนที่มีนัยสำคัญอันเนื่องมาจากการหยุดดำเนินการขุดแร่ดีบุก ขณะนี้บริษัทอยู่
ระหว่างดำเนินการเพื่อให้พ้นเหตุแห่งการถูกเพิกถอนดังกล่าว
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2541 บริษัทย่อยทำสัญญาแต่งตั้งสถาบันการเงินแห่งหนึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการดำเนิน
การจัดทำแผนฟื้นฟูบริษัท เพื่อแก้ไขเหตุแห่งการถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย
หมายเหตุ 4 - สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ
การรับรู้รายได้
รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทใหญ่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งประเมินโดยวิศวกรของบริษัท
รายได้ที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จส่วนที่เกินกว่ารายได้ที่มีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้ว
ทั้งสิ้นบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า
บริษัทย่อยบันทึกรายได้จากการขายเมื่อส่งมอบสินค้า รายได้จากงานบริการบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำ
เสร็จ ซึ่งมีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้ว รายได้จากการให้เช่าเครื่องมือ และอุปกรณ์ บันทึกเมื่อมีการเรียก
เก็บเงินตามใบกำกับสินค้า
รายได้อื่นบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ
การรับรู้ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนงานก่อสร้างบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณหรือตามต้นทุนงาน
ก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ผลต่างระหว่างต้นทุนที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุนโดย
ประมาณและต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีที่บริษัทบันทึกต้นทุนตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ
บันทึกเป็นงานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา
บริษัทย่อยบันทึกต้นทุนงานบริการตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริง
ค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินสดและเงินฝากธนาคารและตั๋วเงินรับสถาบันการเงินที่ไม่ติดภาระจำนำ
ประเภทอายุไม่เกิน 3 เดือน และไม่รวมเงินฝากธนาคารที่ติดภาระผูกพัน
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามจำนวนที่คาดว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้
สินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือของบริษัทย่อยแสดงในราคาทุนตามวิธีจ่ายสินค้าที่รับเข้ามาก่อนออกไปก่อนสุทธิจากผลขาดทุนของสิน
ค้าเสื่อมสภาพ
เงินลงทุน
เงินลงทุนในหลักทรัพย์สำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2542 ได้จัดประเภทและแสดงราคาโดยถือปฏิบัติตาม
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุน ดังนี้
เงินลงทุนชั่วคราวในตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม กำไรหรือ
ขาดทุนที่ยังไม่เกิดจากการปรับมูลค่าของหลักทรัพย์เพื่อค้ารับรู้ในงบกำไรขาดทุน
เงินลงทุนชั่วคราวในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดซึ่งถือเป็นเงินลงทุนทั่วไปแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม
กำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดจากการปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ทั่วไป จะแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของผู้ถือ
หุ้น และจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนเมื่อบริษัทได้จำหน่ายเงินลงทุนนั้น
เงินลงทุนระยะยาวในตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขายแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม กำไรหรือ
ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่าของหลักทรัพย์เผื่อขายจะแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของผู้ถือหุ้น
และจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนเมื่อได้จำหน่ายเงินลงทุนนั้น
เงินลงทุนระยะยาวที่เป็นเงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ซึ่งบริษัทถือเป็นเงินลงทุนทั่วไป
แสดงด้วยราคาทุน
ต้นทุนของเงินลงทุนชั่วคราวและเงินลงทุนระยะยาวที่จำหน่ายในระหว่างงวด คำนวณโดยใช้วิธีถั่วเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ สำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 แสดงดังนี้
เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนแสดงในราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมที่ต่ำกว่า การลดลงของหลักทรัพย์ในความ
ต้องการของตลาดประเภทไม่หมุนเวียน แสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม แสดงตามวิธี
ส่วนได้เสีย เงินลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทถือหุ้นในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 แสดงในราคาทุนสุทธิจากค่าเผื่อการ
ลดราคาเงินลงทุน
เงินลงทุนในกิจการร่วมค้าที่บริษัทมีอัตราส่วนแบ่งกำไรร้อยละ 20 ขึ้นไป แสดงตามวิธีส่วนได้เสีย และรวมตามสัดส่วน
สำหรับกิจการร่วมค้าทั้งหมดที่บริษัทมีส่วนร่วมในอำนาจควบคุม
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้สินทรัพย์โดย
ประมาณระหว่าง 5 - 20 ปี
ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีของบริษัทใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ในสินทรัพย์อื่น ได้แก่ค่าธรรมเนียมการประกันและจำหน่ายหลักทรัพย์
มีกำหนดตัดบัญชีภายในระยะเวลา 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ
บัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ หนี้สินที่เป็นเงินตราต่าง
ประเทศ ณ วันสิ้นงวด แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น และในกรณีที่มีสัญญาซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศล่วงหน้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา
กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน
กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน คำนวณโดยการหารกำไร(ขาดทุน)สุทธิสำหรับงวดด้วยจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว
ณ วันสิ้นงวด
(ยังมีต่อ)