14 August 1997

สงงบการเงิน ไตรมาสที่ 2 - STECON ปี 1997 (ต่อ)

บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) หมายเหตุ 1 - มูลฐานของงบการเงินรวม 1.1 มูลฐานในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยที่นำมาจัดทำงบการเงินรวม ได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และ ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย งบการเงินนี้แสดงรายการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2539 1.2 เกณฑ์การเสนองบการเงิน งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 ประกอบด้วย งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และงบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด และบริษัท ซิโน- ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ร้อยละ 99.99 และ 51.16 ตามลำดับ และงบการเงินของบริษัท สยาม หินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ( เดิมชื่อ : บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) ถือหุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ร้อยละ 70 เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำ เนินงาน งบการเงินรวมสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ประกอบด้วยงบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ( มหาชน) และงบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด และงบการ เงินของบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่ ถือหุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2539 ร้อยละ 99.99 และ 51.00 ตามลำดับ และงบการเงิน ของบริษัท สยามหินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ( มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) ถือหุ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2539 ร้อยละ 70 เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนิน งาน ในการจัดทำงบการเงินได้ตัดรายการค้าและยอดคงเหลือระหว่างกันที่เป็นสาระสำคัญ ออกแล้ว 1.3 ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน และส่วนเกินของราคาทุนที่สูง กว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุน ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทเข้าไป ถือหุ้นในบริษัทย่อยในปีก่อน ๆ ได้ถูกตัดบัญชีและแสดงอยู่ในกำไรสะสม ณ วันซื้อ ส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีกำหนดตัด บัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี หมายเหตุ 2 - การดำเนินงานของบริษัทย่อย คณะกรรมการของบริษัทย่อยได้มีมติให้หยุดดำเนินการขุดแร่ลงเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 19 สิง หาคม 2536 เนื่องจากตลาดดีบุกโลกตกต่ำอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาแร่ดีบุกอยู่ในระดับที่ ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ผู้บริหารของบริษัทย่อย ไม่ได้บันทึกสำรองเผื่อการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขุดแร่ดีบุกของบริษัทย่อย ซึ่งมีมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 ประมาณ 63.9 และ 64 ล้านบาท ตามลำดับ ไว้ในบัญชี บริษัทย่อยทำสัญญาเช่าช่วงประทานบัตรทำเหมืองแร่หินประดับจากบริษัท สยามหินประดับ จำกัด โดย ทำสัญญาเช่าช่วง 2 ประทานบัตร คือประทานบัตรที่ 27951/14713 และ 27952/14724 ที่ ต.ลำ พญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โดยทางบริษัทย่อยมีโครงการทำเหมืองหินก่อสร้างในพื้นที่ ประทานบัตรที่เช่าช่วงมาทั้งนี้บริษัทย่อยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำเหมืองทั้งหมด เมื่อ เริ่มการผลิต บริษัทย่อยได้ว่าจ้างให้ บริษัทที่ปรึกษาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทย จำกัด ทำการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการทำเหมืองหินก่อสร้าง และได้ทำการสำรวจศึกษาทางธรณีวิทยาแหล่งแร่แล้ว พื้นที่ ประทานบัตรทั้ง 2 ประทานบัตร จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามประกอบการเหมืองหิน อย่างไรก็ตามประทานบัตรดังกล่าว บริษัท สยามหินประดับ จำกัด ได้รับมาก่อนมีมติรัฐมนตรี ดังนั้นจึงสามารถประกอบกิจการทำเหมือง หินประดับตามประทานบัตรเดิมได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุประทานบัตรและบริษัท สยามหินประดับ จำกัด ได้ดำเนินการเพื่อขอเพิ่มชนิดหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างตามประทานบัตรดังกล่าวซึ่งได้ รับอนุมัติจากกรมทรัพยากรธรณีแล้วตามหนังสือลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 ปัจจุบันบริษัท สยาม หินประดับ จำกัด อยู่ระหว่างการดำเนินการร้องขอให้กรมทรัพยากรธรณีช่วยกันเขตพื้นที่ประทาน บัตรดังกล่าวออกจากเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมทรัพยากร ธรณี หมายเหตุ 3 - สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ การรับรู้รายได้ รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทใหญ่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งประเมินโดย วิศวกรของบริษัท รายได้ที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จส่วนที่เกินกว่ารายได้ที่มีการ เรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้วทั้งสิ้นบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า บริษัทย่อยบันทึกรายได้จากการขายเมื่อส่งมอบสินค้า รายได้จากงานบริการบันทึกตามอัตราส่วนร้อย ละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งมีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้ว รายได้จากการ ให้เช่าเครื่องมือ และอุปกรณ์ บันทึกเมื่อมีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้า รายได้อื่นบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ การรับรู้ค่าใช้จ่าย ต้นทุนงานก่อสร้างบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณหรือตาม ต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ผลต่างระหว่างต้นทุนที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ของราคาต้นทุนโดยประมาณและต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีที่บริษัทบันทึกต้นทุนตามอัตรา ส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จบันทึกเป็นงานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา บริษัทย่อยบันทึกต้นทุนงานบริการตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริง ค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามจำนวนที่คาดว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนตามวิธีจ่ายสินค้าที่รับเข้ามาก่อนออกไปก่อนสุทธิจากผลขาดทุนของ สินค้าเสื่อมสภาพ เงินลงทุน เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนแสดงในราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมที่ต่ำกว่า เงินลงทุนใน หลักทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทถือหุ้นในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 และกิจการร่วมค้า แสดงในราคาทุน เงินลง ทุนในบริษัทร่วมแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการ ใช้สินทรัพย์โดยประมาณระหว่าง 5 - 20 ปี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ของบริษัทใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ในสินทรัพย์อื่น ได้แก่ค่าธรรมเนียมการประกันและ จำหน่ายหลักทรัพย์ และค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ มีกำหนดตัดบัญชีภายในระยะเวลา 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ บัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ หนี้สิน ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นงวด แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น และในกรณีที่มีสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา หุ้นกู้แปลง สภาพบันทึกในราคาแปลงสภาพตามที่กำหนด กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าแสดงในงบกำไรขาด ทุน กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้น คำนวณโดยการหารกำไรสุทธิสำหรับงวดด้วยจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว ณ วันสิ้นงวด หมายเหตุ 4 - รายการกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยอดบัญชีคงเหลือกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน มีดังต่อไปนี้ ลูกหนี้การค้าจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย หน่วย : พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2540 2539 2540 2539 บริษัทย่อย - - 720 1,646 บริษัทร่วม 13,607 16,466 13,800 16,659 บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 9,279 16,562 8,114 11,898 รวม 22,886 33,028 22,634 30,203 เจ้าหนี้การค้าเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย หน่วย : พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2540 2539 2540 2539 บริษัทย่อย - - 1,472 3,378 บริษัทร่วม 405 38,703 405 38,703 บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 20,231 13,688 18,518 5,185 รวม 20,636 52,391 20,395 47,266 รายการบัญชีที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันในงบการเงินสำหรับระยะเวลา 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 สรุปได้ดังนี้ หน่วย : พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2540 2539 2540 2539 รายได้จากการก่อสร้าง 78,147 8,949 78,147 8,949 รายได้ค่าบริการ ค่าเช่า และอื่น 33 14 1,031 1,021 ดอกเบี้ยรับ - - 4,016 1,197 ซื้ออุปกรณ์ - - 2,372 1,040 ค่าบริการคอนกรีตและอื่น ๆ - - 647 5,926 หมายเหตุ 5 - การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ในปี 2537 บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจากวิธีราคาทุน เป็นวิธีส่วนได้เสีย การบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 ได้ใช้ข้อมูลทางการเงินเพื่อการตีราคา เงินลงทุนที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ซึ่งยังมิได้รับการตรวจสอบหรือ สอบ ทานโดยผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานการสอบทานงบการเงินสำหรับเงินลง ทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม การบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ได้ใช้ข้อมูลทางการเงินที่ได้รับการ สอบทานโดยผู้สอบบัญชีแล้วสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง และได้ใช้ข้อมูลทางการเงินเพื่อ การตีราคาเงินลงทุนที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งและบริษัทร่วม ซึ่งยังมิได้รับการ ตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานการสอบทานงบการ เงินสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ผลกระทบต่อกำไรสะสมยกมา ณ วันต้นงวดสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 หากได้ใช้วิธีการบัญชีเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียตั้งแต่วันที่ได้รับ เงินลงทุนมาได้แสดงไว้เป็นรายการแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวได้กระทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามหนังสือลงวันที่ 30 ธันวาคม 2536 ในปี 2539 และ 2538 บริษัทร่วมแห่งหนึ่งได้เพิ่มทุนจดทะเบียนโดยออกจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนในราคา ที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าแก่ผู้ถือหุ้นใหม่ทั้งจำนวน โดยมีผลให้ส่วนได้เสียของบริษัทในบริษัทร่วมดัง กล่าวเพิ่มขึ้นจำนวน 43.12 ล้านบาท และ 25.71 ล้านบาท ตามลำดับ บริษัทได้บันทึกส่วนได้เสีย ที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่า ราคาทุนของเงินลงทุน โดยแสดงภายใต้หนี้สินไม่หมุนเวียนในงบการเงินและมีกำหนดตัดบัญชีตาม วิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสียสำหรับงบ การเงิน สำหรับงวดระยะเวลา 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 มีดังนี้ จำนวนเงินล้านบาท นอกจากกำไรต่อหุ้น งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2540 2539 2540 2539 เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 184.73 184.60 275.33 261.90 กำไรสะสมต้นปีเพิ่มขึ้น 138.06 102.99 256.05 175.57 กำไร(ขาดทุน)สุทธิเพิ่มขึ้น (0.41) 11.39 (12.74) 19.61 กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น(ลดลง) (บาท) (0.01) 0.38 (0.42) 0.65 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสียสำหรับ งบการเงิน สำหรับงวดระยะเวลา 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 มีดังนี้ จำนวนเงินล้านบาท นอกจากกำไรต่อหุ้น งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2540 2539 2540 2539 เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 184.73 184.60 275.33 261.90 กำไรสะสมต้นปีเพิ่มขึ้น 127.83 80.48 224.28 150.11 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 9.82 33.90 21.69 45.07 กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น (บาท) 0.33 1.13 0.72 1.50 หมายเหตุ 6 - ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 30 มิถุนายน ประกอบด้วย หน่วย : พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท 2540 2539 2540 2539 ลูกหนี้การค้า 1,313,846 916,363 1,127,105 741,753 งานก่อสร้างส่วนที่ยังไม่ได้เรียก เก็บเงินตามใบกำกับสินค้า 783,745 916,335 783,745 916,335 รวม 2,097,591 1,832,698 1,910,850 1,658,088 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (39,114) (41,984) (35,385) (35,385) ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 2,058,477 1,790,714 1,875,465 1,622,703 หมายเหตุ 7 - เงินลงทุน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 เงินลงทุนในหลักทรัพย์หุ้นทุนในความต้องการของตลาดประเภทไม่หมุน เวียนมีราคาตลาดรวมต่ำกว่าราคาทุนรวม จำนวนเงิน 202.16 ล้านบาท บริษัทยังไม่ได้บันทึกขาด ทุนที่ยังไม่เกิดจากการประเมินราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวในส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล หมายเหตุ 8 - หุ้นกู้แปลงสภาพ บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 80,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 ดอกเบี้ยอัตรา 1.75% สุทธิจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย กำหนดจ่ายปีละครั้งในวันที่ 17 ธันวาคม ทุกปี เริ่มแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2537 และชำระคืนในวันที่ 17 ธันวาคม 2546 ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2537 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 หุ้นกู้แต่ละหุ้นมีสิทธิแปลงสภาพเป็น หุ้นสามัญของบริษัทที่ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้วได้ ในราคาที่กำหนดเบื้องต้น 424 บาท ต่อหุ้น ตาม ข้อบังคับของบริษัทบุคคลต่างประเทศอาจถือหุ้นของบริษัทเนื่องจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ได้ ไม่เกิน 45% ของทุนเรือนหุ้นของบริษัทที่ออก หากมีการแปลงสภาพหุ้นกู้ทั้งสิ้น จำนวนหุ้นสามัญทั้ง สิ้นที่พึงออกจากการแปลงสภาพจะเท่ากับประมาณ 14% ของทุนเรือนหุ้นที่ออกหลังจากแปลง สภาพแล้ว บริษัทอาจไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดได้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2539 เป็นต้นไป ในราคาตาม มูลค่าหุ้นกู้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าหุ้นของบริษัทมีราคาปิดในตลาดหลักทรัพย์ก่อนไถ่ถอนไม่ต่ำกว่า 15 0% ของราคาไถ่ถอน ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้บริษัทไถ่ถอนหุ้นกู้ในวันที่ 17 ธันวาคม 2539 ในราคา 112.1637% ของมูล ค่าหุ้นกู้ บริษัทมีแผนการเงินที่จะใช้เงินที่ได้จากการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้ของบริษัท ให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือ และใช้เป็นทุนหมุนเวียนของบริษัท ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 อนุมัติให้บริษัทออกหุ้น กู้แปลงสภาพนี้ได้ และให้สำรองหุ้นสามัญที่ยังมิได้เรียกชำระ จำนวน 6 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เพื่อรองรับการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญนี้ ซึ่งมติให้สำรองหุ้นสามัญดังกล่าวได้ถูกยกเลิก โด ยมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540 บริษัทบันทึกสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ในราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ในปี 2539 จำนวน 12.1 637% ในสัดส่วนร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้น โดยได้รวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไว้แล้ว ตามมติที่ประชุม คณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 29/2539 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2539 สำรองดังกล่าวมีจำนวนเงินประมาณ 27.48 ล้านบาท ซึ่งได้แสดงเป็น ส่วนหนึ่งของหุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ถือหุ้นกู้ได้ไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 80,000,000 เหรียญสหรัฐ ในราคา 112.1637% ของ มูลค่าหุ้นกู้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2539 หมายเหตุ 9 - ทุนเรือนหุ้น ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติพิเศษ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 ให้เพิ่มทุนเรือนหุ้นของบริษัทจาก 255 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหุ้นบุริมสิทธิ 7 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นสามัญ 18.5 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็น 750 ล้าน บาท แบ่งออกเป็นหุ้นบุริมสิทธิ 7 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นสามัญ 68 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท โดยนำหุ้นสามัญออกจำหน่ายครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2535 จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 118 บาทบริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2535 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 ได้มีมติให้ยืนยันมติพิเศษการ เพิ่มทุนของที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 25 34 หมายเหตุ 10 - หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 บริษัทมีภาระการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่บริษัทในเครือ ในวงเงินประ มาณ 915 ล้านบาท โดยมียอดการใช้สินเชื่อจริงของบริษัทในเครือดังกล่าวจำนวน 197.4 ล้านบาท ผู้บริหารของบริษัทเชื่อว่าบริษัทในเครือดังกล่าวไม่มีปัญหาในการชำระหนี้ หมายเหตุ 11 - การจำแนกข้อมูลทางการเงินตามส่วนงาน ข้อมูลจำแนกตามส่วนงานจำแนกตามกิจกรรมของบริษัทและบริษัทย่อยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 จำนวนเงินล้านบาท งานก่อสร้าง การขาย การให้บริการ รวม รายได้ 2,906.15 243.90 23.90 3,173.95 ต้นทุน (2,433.17) (210.66) (19.29) (2,663.12) กำไรขั้นต้น 472.98 33.24 4.61 510.83 หมายเหตุ 12 - เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศ เรื่อง ปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 กำหนดให้เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว (Managed Float ) ซึ่งค่าเงินบาทจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะตลาดเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นจึงมีผลกระทบต่อการ แสดงมูลค่าของหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ หมายเหตุ 13 - การจัดประเภทรายการใหม่ งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ที่นำมา แสดงเปรียบเทียบ ได้จัดประเภทรายการใหม่ให้สอดคล้องกับงบการเงิน ระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540