14 November 1996

งบการเงินรวมไตรมาสที่ 3/2539

รายงานการสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวม บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 งบกำไรขาดทุน และกำไรสะสมรวม สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวด ของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตามมาตร ฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การทำความเข้าใจเกี่ยว กับระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขต จำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินรวม มาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินรวมที่สอบทานได้ งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท อ่าวขามไทย จำกัด (มหาชน)) และบริษัท สยามหินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 ที่รวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลรวม สำหรับระยะ เวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันเดียวกัน มียอดสินทรัพย์เป็นร้อยละ 7.20 ของสินทรัพย์รวมและ รายได้เป็นร้อยละ 0.78 ของรายได้รวม จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทย่อยซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจสอบ หรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีหรือมาตรฐานการสอบทานงบการเงิน ดังที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 ในปี 2537 บริษัทได้เปลี่ยนวิธีการบันทึก บัญชี เงินลงทุนในบริษัทร่วม จากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสีย โดยส่วนได้เสียในกำไรของบริษัทร่วมใน งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 จำนวนเงิน 3.49 ล้านบาท และ 37.39 ล้านบาท 10.80 ล้านบาท และ 33.87 ล้านบาท ตาม ลำดับ ได้ถือตามข้อมูลที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทร่วม ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ให้ เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น (นายนิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 2316 บริษัท สำนักงาน พีทมาร์วิค สุธี จำกัด กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2539 บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) (จำนวนเงินพันบาท) 30 กันยายน สินทรัพย์ 2539 2538 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากธนาคาร 89,556 196,897 ตั๋วเงินรับ - บริษัทการเงิน 1,010,050 345,640 เงินลงทุนระยะสั้น 618,005 390,387 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ (หมายเหตุ 2) 1,984,149 1,443,595 ลูกหนี้บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ 22,086 31,100 ลูกหนี้เงินประกันผลงาน - สุทธิ 378,724 305,521 สินค้าคงเหลือ 244,259 205,405 งานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา (หมายเหตุ 2) 220,637 587,579 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 169,929 87,941 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 4,737,395 3,594,065 เงินให้กู้ยืม และเงินทดรองแก่กรรมการและลูกจ้าง 25,439 8,380 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 9,334 4,240 เงินลงทุน (หมายเหตุ 3) 1,061,202 814,859 ส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุน 96,706 - ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ (หมายเหตุ 6) 1,729,669 444,783 อาคารชุด 152,231 159,193 เงินล่วงหน้าซื้ออาคารชุด 59,609 64,219 สินทรัพย์อื่น 81,074 123,761 รวมสินทรัพย์ 7,952,659 5,213,500 _____________________ _____________________ กรรมการ กรรมการ ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) (จำนวนเงินพันบาท) 30 กันยายน หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 2539 2538 หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 474,030 269,679 เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท 46,539 - เงินกู้ยืมระยะสั้น 1,065,000 260,000 เจ้าหนี้การค้า 875,021 526,908 เจ้าหนี้บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 35,278 7,475 ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี 55,000 - เงินรับล่วงหน้าตามสัญญา 276,650 246,441 ภาษีเงินได้ค้างจ่าย 4,848 3,736 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 218,814 189,479 รวมหนี้สินหมุนเวียน 3,051,180 1,503,718 หุ้นกู้แปลงสภาพ (หมายเหตุ 4) 2,033,600 2,033,600 สำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ 274,846 11,396 หนี้สินอื่น 31,230 6,259 ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน (หมายเหตุ 3) 62,099 24,428 รวมหนี้สิน 5,452,955 3,579,401 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 86,776 - ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท (หมายเหตุ 5) ทุนจดทะเบียน หุ้นบุริมสิทธิ 7,000,000 หุ้น 70,000 70,000 หุ้นสามัญ 68,000,000 หุ้น 680,000 680,000 ทุนที่ออกและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นบุริมสิทธิ 7,000,000 หุ้น 70,000 70,000 หุ้นสามัญ 23,000,000 หุ้น 230,000 230,000 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 486,000 486,000 ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ (หมายเหตุ 6) 1,020,072 - กำไรสะสม จัดสรรแล้ว - สำรองตามกฎหมาย 56,143 31,055 ยังไม่ได้จัดสรร 550,713 817,044 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 2,412,928 1,634,099 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 7,952,659 5,213,500 _____________________ _____________________ กรรมการ กรรมการ ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขาดทุนและกำไรสะสมรวม (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) (จำนวนเงินพันบาท ระยะเวลา 3 เดือน ระยะเวลา 9 เดือน เว้นแต่กำไรต่อหุ้น) สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 2538 2539 2538 รายได้ (หมายเหตุ 2) รายได้จากงานก่อสร้างและการขาย 1,722,227 1,268,914 4,829,919 3,957,386 ส่วนของกำไรของบริษัทร่วม 3,490 10,803 37,389 33,869 รายได้อื่น 71,448 38,908 210,526 130,279 รวมรายได้ 1,797,165 1,318,625 5,077,834 4,121,534 ค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 2) ต้นทุนงานก่อสร้างและต้นทุนขาย 1,596,409 1,064,915 4,332,600 3,387,241 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 103,888 107,627 358,634 292,452 ดอกเบี้ยจ่าย 61,438 17,559 156,572 46,743 ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (หมายเหตุ 7) 293,606 2,694 311,651 8,082 ภาษีเงินได้ (13,242) 34,559 42,581 106,446 รวมค่าใช้จ่าย 2,042,099 1,227,354 5,202,038 3,840,964 กำไรสุทธิก่อนหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (244,934) 91,271 (124,204) 280,570 กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 10,366 - 16,591 - กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (234,568) 91,271 (107,613) 280,570 กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรต้นงวด 674,441 661,510 821,648 639,303 ส่วนปรับปรุงกำไรสะสมต้นปีของบริษัทย่อยที่นำมา รวมในงบการเงินรวม - - (15,340) - ค่าความนิยมของเงินลงทุนในบริษัทร่วมตัดบัญชี และส่วนแบ่งในกำไร(ขาดทุน)ตามวิธีส่วนได้เสีย ในบริษัทร่วมยกมาต้นงวด (หมายเหตุ 3) 110,840 64,263 80,475 47,779 ส่วนปรับปรุงกำไรสะสมต้นงวดของบริษัทร่วม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้น - - - (6,582) กำไรจัดสรร สำรองตามกฎหมาย - - (18,457) (16,526) เงินปันผลจ่าย - - (210,000) (127,500) กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรสิ้นงวด 550,713 817,044 550,713 817,044 กำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้น (บาท) (7.82) 3.04 (3.59) 9.35 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจี เนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม 30 กันยายน 2539 และ 2538 (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) หมายเหตุ 1 - มูลฐานของงบการเงินรวม 1.1 มูลฐานในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ที่นำมาจัดทำงบการเงินรวม ได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1.2 เกณฑ์การเสนองบการเงินรวม งบการเงินรวมสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 ประกอบด้วย งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และงบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท ซิโน- ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท อ่าว ขามไทย จำกัด (มหาชน))ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 ร้อยละ 99.99 และ 51.00 ตามลำดับ และงบการเงินของบริษัท สยามหินประดับ จำกัด สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 ซึ่งเป็น บริษัทย่อยที่บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์ส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ : บริษัท อ่าวขามไทย จำกัด (มหาชน)) ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 ร้อยละ 70 เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงาน งบการเงินรวมสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 ประกอบด้วย งบการเงินของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และงบการเงินของ บริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็น บริษัทย่อยที่บริษัทใหญ่ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 ร้อยละ 99.99 ในการจัดทำงบการเงินรวมได้ตัดรายการค้าและยอดคงเหลือระหว่างกันที่เป็นสาระสำคัญ ออกแล้ว 1.3 ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน และส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่า ราคาตามบัญชีของเงินลงทุน ส่วนเกินของราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนของเงินลงทุน ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทใหญ่เข้า ไปถือหุ้นในบริษัทย่อยในปีก่อน ๆ ได้ถูกตัดบัญชีและแสดงอยู่ในกำไรสะสม ณ วันซื้อ ส่วนเกินของราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีกำหนดตัด บัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี หมายเหตุ 2 - สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ การรับรู้รายได้ รายได้จากงานก่อสร้างของบริษัทใหญ่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งประเมิน โดยวิศวกรของบริษัท รายได้ที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จส่วนที่เกินกว่ารายได้ ที่มีการเรียกเก็บเงินตามใบกำกับสินค้าแล้วทั้งสิ้นบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า รายได้อื่นบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ การรับรู้ค่าใช้จ่าย ต้นทุนงานก่อสร้างบันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณหรือ ตามต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ผลต่างระหว่างต้นทุนที่บันทึกตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำ เสร็จของราคาต้นทุนโดยประมาณและต้นทุนงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีที่บริษัทบันทึกต้นทุน ตามอัตราส่วนร้อยละของงานที่ทำเสร็จบันทึกเป็นงานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา ค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์สิทธิ หมายเหตุ 3 - การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ในปี 2537 บริษัทใหญ่ได้เปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมจากวิธีราคาทุนเป็นวิธี ส่วนได้เสีย การบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 ได้ใช้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อการตี ราคาเงินลงทุนที่จัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทร่วม ซึ่งยังมิได้รับการตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้ สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานการสอบทานงบการเงินสำหรับเงินลงทุนใน บริษัทร่วม ผลกระทบต่อกำไรสะสมยกมา ณ วันต้นงวดสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 หากได้ใช้วิธีการบัญชีเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียตั้งแต่วันที่ได้รับ เงินลงทุนมาได้แสดงไว้เป็นรายการแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวได้กระทำขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่กำหนด โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามหนังสือลงวันที่ 30 ธันวาคม 2536 ในปี 2539 และ 2538 บริษัทร่วมแห่งหนึ่งได้เพิ่มทุนจดทะเบียน โดยออกจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนใน ราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าแก่ผู้ถือหุ้นใหม่ทั้งจำนวน โดยมีผลให้ส่วนได้เสียของบริษัทในบริษัท ร่วมดังกล่าวเพิ่มขึ้นจำนวน 43.12 ล้านบาท และ 25.71 ล้านบาท ตามลำดับ บริษัทได้บันทึก ส่วนได้เสียที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นส่วนเกินของราคาตาม บัญชีที่สู่งกว่าราคาทุนของเงินลงทุน โดยแสดงภายใต้หนี้สินไม่หมุนเวียนในงบการเงินและมีกำหนด ตัดบัญชีตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 10 ปี ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสียใน งบการเงินสำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน มีดังนี้ ระยะเวลา 3 เดือน ระยะเวลา 9 เดือน (จำนวนเงินล้านบาท นอกจากกำไรต่อหุ้น) ล้านบาท ล้านบาท 2539 2538 2539 2538 เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 187.39 98.68 187.39 98.68 กำไรสะสมต้นงวดเพิ่มขึ้น 114.38 64.26 80.48 41.20 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3.49 10.81 37.39 33.87 กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น (บาท) 0.12 0.36 1.25 1.13 หมายเหตุ 4 - หุ้นกู้แปลงสภาพ บริษัทใหญ่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 80,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 ดอกเบี้ยอัตรา 1.75% สุทธิจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย กำหนดจ่ายปีละครั้งในวันที่ 17 ธันวาคม ทุกปี เริ่มแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2537 และชำระคืนในวันที่ 17 ธันวาคม 2546 ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2537 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 หุ้นกู้แต่ละหุ้นมีสิทธิแปลงสภาพเป็น หุ้นสามัญของบริษัทที่ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้วได้ ในราคาที่กำหนดเบื้องต้น 424 บาท ต่อหุ้น ตามข้อบังคับของบริษัทบุคคลต่างประเทศอาจถือหุ้นของบริษัทเนื่องจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ ได้ไม่เกิน 45% ของทุนเรือนหุ้นของบริษัทที่ออก หากมีการแปลงสภาพหุ้นกู้ทั้งสิ้น จำนวนหุ้นสามัญ ทั้งสิ้นที่พึงออกจากการแปลงสภาพจะเท่ากับประมาณ 14% ของทุนเรือนหุ้นที่ออกหลังจาก แปลงสภาพแล้ว บริษัทใหญ่อาจไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดได้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2539 เป็นต้นไป ใน ราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าหุ้นของบริษัทมีราคาปิดในตลาดหลักทรัพย์ก่อนไถ่ถอน ไม่ต่ำกว่า 150% ของราคาไถ่ถอน ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้บริษัทใหญ่ไถ่ถอนหุ้นกู้ในวันที่ 17 ธันวาคม 2539 ในราคา 112.1637% ของมูลค่าหุ้นกู้ บริษัทใหญ่มีแผนการเงินที่จะใช้เงินที่ได้จากการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้ของบริษัท ให้กู้ยืมแก่บริษัทใน เครือ และใช้เป็นทุนหมุนเวียนของบริษัท ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 อนุมัติให้บริษัทออกหุ้น กู้แปลงสภาพนี้ได้ และให้สำรองหุ้นสามัญที่ยังมิได้เรียกชำระ จำนวน 6 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เพื่อรองรับการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญนี้ บริษัทใหญ่บันทึกสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ในราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 12.1637% ในสัดส่วนร้อยละ 100 และร้อยละ 5 ของมูลค่าหุ้นกู้จำนวน 80,000 หุ้น ในปี 2539 และ 2538 ตามลำดับ โดยได้รวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 43/2539 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2539 และครั้งที่ 51/2538 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2538 ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 สำรองดังกล่าวมีจำนวนเงินประมาณ 274.85 ล้านบาท และ 11.40 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งได้แสดงเป็นสำรองเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ ในงบ การเงิน หมายเหตุ 5 - ทุนเรือนหุ้น ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ได้มีมติพิเศษ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 ให้เพิ่มทุนเรือนหุ้นของบริษัทจาก 255 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหุ้น บุริมสิทธิ 7 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นสามัญ 18.5 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็น 750 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นบุริมสิทธิ 7 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นสามัญ 68 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยนำหุ้นสามัญออกจำหน่ายครั้งแรกในเดือนกันยายน 2535 จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 118 บาท บริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2535 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 ได้มีมติให้ยืนยันมติพิเศษ การเพิ่มทุนของที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 หมายเหตุ 6 - ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ ในปี 2539 บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ได้ตีราคาที่ดินเพิ่มจำนวน 834.57 ล้านบาท และ 185.97 ล้านบาท ตามลำดับ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 12/2539 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2539 และครั้งที่ 4/2539 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 และได้บันทึกส่วนที่ตีราคา เพิ่มดังกล่าวเป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุ 7 - ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ จำนวน 247.36 ล้านบาท และ 262.31 ล้านบาท 1.14 ล้านบาท และ 3.43 ล้านบาท และค่าใช้ จ่ายอื่นในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพตัดบัญชี จำนวนเงิน 46.25 ล้านบาท และ 49.35 ล้านบาท 1.55 ล้านบาท และ 4.65 ล้านบาท ตามลำดับ หมายเหตุ 8 - การจัดประเภทรายการใหม่ งบการเงินรวมงวด 2538 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ ได้จัดประเภทรายการใหม่ให้สอดคล้อง กับงบการเงินรวมงวด 2539